ค้นหา
ไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ...ปิด
    RSS

    บทความ

    เครื่องสแกนบาร์โค้ด มีกี่ประเภท
    ความคิดเห็น (0) เครื่องสแกนบาร์โค้ด มีกี่ประเภท

    ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่

    1. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส : โดยตัวเครื่องจะสัมผัสกับพื้นผิวบาร์โค้ดโดยตรง ซึ่งเครื่องลักษณะดังกล่าวจะมีผลกระทบทำให้บาร์โค้ดเสียหายจากการสัมผัส หรือเสียดสี
    2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบไม่สัมผัส : โดยตัวเครื่องจะใช้หลักการสะท้อนของแสง หรือการถ่ายภาพตัวบาร์โค้ดเพื่อทำการประมวลผลเป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส ซึ่งส่วนใหญ่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน

     

    ประเภทของหัวอ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส

                
    แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ CCD, Laser, Omni-Directional และ Imager


    1. CCD Scannerจะเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นตัวปืน ลำแสงมีความหนา มีข้อดีในการใช้งานกลางแจ้งบริเวณที่มีแสงสว่างมากๆ แต่ข้อเสียก็คือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านชนิดนี้จำเป็นต้องใช้กับบาร์โค้ดที่มีลักษณะพื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น จำเป็นต้องยิงในระยะที่ไม่ห่างจากตัวบาร์โค้ดมากเกิน 1 นิ้ว และความสามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีความละเอียดของแท่งบาร์โค้ดมากได้ลำบาก

    2. Laser Scannerเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ มีข้อดีที่สามารถอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้พอสมควร การยิงจะใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านกระจกและไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดเพื่ออ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมาที่ตัวรับแสง ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูลทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี นอกจากนี้ในหลายๆรุ่นยังสามารถตั้งให้ทำงานโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีแถบบาร์โค้ดเคลื่อนผ่านหน้าหัวอ่าน โดยจะประยุกต์ใช้ร่วมกับขาตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด 

    3. Omni-directional Scannerเป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Laser Scanner จึงมักนิยมใช้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 

    4. Imager Scannerเป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆได้ และสามารถทำงานได้ในระยะห่างจากบาร์โค้ดมากยิ่งขึ้น แต่จะประมวลผลข้อมูลที่ช้ากว่าเครื่องอ่านแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย

                    นอกเหนือจากที่กล่าวมาในขั้นตอน หัวอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ยังมีลักษณะพิเศษเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้งาน กับความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น

     

    ประเภทของหัวอ่านลักษณะพิเศษ ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

    1. SR (Standard Resolution) :คือ หัวอ่านสำหรับอ่านบาร์โค้ดทั่วไป
    2. FZ (Fuzzy Logic) :คือหัวอ่านสำหรับอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะซีดจาง หรือสีของบาร์โค้ดมีความเข้มน้อยกว่าปกติ
    3. ER (Extra long range):คือ หัวอ่านสำหรับอ่านบาร์โค้ดในระยะไกล ระยะทางไกลที่สุดระยะตัวเครื่องอ่าน และบาร์โค้ดประมาณ 10 เมตร ในพื้นที่ปิด เช่นในโรงงาน และบาร์โค้ดที่อ่านต้องมีความใหญ่ ตามระยะทาง ที่ต้องการให้อ่าน
    4. OCR(Optical Character Recognition) :คือหัวอ่าน สำหรับอ่านตัวอักษร แทนที่จะอ่านได้เพียง แท่งบาร์โค้ดอย่างเดียวแต่ตัวอักษรดังกล่าวจะต้องเป็น ประเภท หรือ (Fonts) ที่ตัวเครื่องรับรองเท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเครื่องอ่านบาร์โค้ด ว่าออกแบบว่าตัวเครื่องรองรับ ประเภท หรือ Fonts ของตัวอักษรชนิดใดบ้าง
    5. HD (High Density) :คือหัวอ่าน สำหรับอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะเล็กเกินกว่า 4 มิล(mil)
    6. DP/DPM (Direct Part Marks)  :คือหัวอ่าน สำหรับอ่านบาร์โค้ดที่ฝังลงบนเนื้อวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้งานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือราคาสูง เช่น เครื่องมือแพทย์

                    *เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ขอแยกลักษณะการใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ดังนี้

     

    ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามลักษณะการใช้งาน

    1. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามสภาพแวดล้อม แยกออกเป็น 3 ประเภท
                    1.1. เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับใช้งานทั่วไป เช่น ร้านค้าทั่วไป สำนักงาน เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพแวดล้อมปกติ
                    1.2  เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมทั่ว เช่น โรงงานต่างๆ เหมาะสำหรับใช้งานหนักต้องการความทนทานการทำงานของตัวเครื่องสูง
                    1.3  เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับกลุ่มงานเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาล อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมที่เน้นเรื่องความวัตถุไวไฟ และระเบิด ซึ่งจะมี เครื่องอ่านบาร์โค้ดเฉพาะ สำหรับทนต่อสารเคมีและป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟ




          



    2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามประเภทหัวอ่านบาร์โค้ด 2 ประเภท

                    2.1 เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 1 มิติ(1D) : หัวอ่านแบบ 1 มิติ ข้อดีคืออ่านบาร์โค้ดได้เร็ว และสามารถระบุชัดเจนว่าอ่านบาร์โค้ดตัวไหน หากในสินค้า 1 ตัว มีบาร์โค้ดติดอยู่หลายตัว ข้อเสียคืออ่านบาร์โค้ด 2 มิติ(2D) ไม่ได้ และแสงเครื่องอ่าน ต้องอยู่บาร์โค้ดทุกเส้นทั้งหมด จึงจะสามารถอ่านได้ ตามตัวอย่าง



      



                    2.2 เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 2 มิติ(2D) : หัวอ่านแบบ 2 มิติ มีข้อดีคือ สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ด 1 มิติและ
    2 มิติ และสามารถบาร์โค้ดได้ง่าย ขอเพียงบาร์โค้ดอยู่กรอบแสงของหัวอ่าน และอ่านบาร์โค้ดหลายตัวพร้อมกันได้ภายในการอ่านครั้งเดียว แต่บาร์โค้ดที่อ่านต้องอยู่ภายในกรอบแสงทั้งหมด ข้อเสียคือ อ่านบาร์โค้ดได้ช้ากว่า และหากมีบาร์โค้ดหลายตัวในสินค้าตัวเดียว จะมีปัญหาเรื่องการอ่าน บาร์โค้ดเฉพาะตัวที่ต้องการและราคาเครื่องอ่าน 2D สูงกว่าเครื่องอ่าน 1 มิติ



                

    3. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามประเภท การเชื่อมต่อ 2 ประเภท

                    3.1 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบมีสาย: คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลไปยัง Host ตัวอย่าง สายสัญญาณ เช่น USB PS2 Serial Parallel or สายสัญญาณเฉพาะสำหรับเครื่องจักร เช่น RS485
                    3.2 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบไร้สาย: คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยสัญญาณคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูลไปยัง Host  เช่น Bluetooth ซึ่งระยะสัญญาณจะขึ้นอยู่กับ ความแรงสัญญาณ Bluetooth, สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มีสัญญาณรบกวน สิ่งกีดขวาง รวมถึงความเหมาะสมของตำแหน่ง หรือลักษณะการวางของตัวส่ง และตัวรับอย่างเหมาะสม

                            



    4. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามวิธีการใช้งาน

                    4.1 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบมือจับ(Handheld) คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ต้องอาศัยมือจับสำหรับการใช้งานสแกนบาร์โค้ดบนสินค้า หรือวัตถุ ซึ่งปัจจุบัน เครื่องลักษณะดังกล่าวนี้ จะมีขาตั้งสำหรับสแกนบาร์โค้ดซึ่งจะทำให้อ่านบาร์โค้ดได้อัตโนมัติเช่นกัน

     




                  4.2 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบตั้งโต๊ะ(Desktop)คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบสำหรับตั้งบนโต๊ะโดยเฉพาะ มีความไวในการอ่านบาร์โค้ดเมื่อมีบาร์โค้ดผ่านตำแหน่งที่สามารถอ่านได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้มือในการหยิบจับสินค้า ไม่สะดวกที่จะหยิบเครื่องอ่านบาร์โค้ดขึ้นมาอ่าน ส่วนมากใช้งานตามห้างสรรพสินค้าและโรงแรม 

                       


                    4.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบ Fix Mount คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบสำหรับกำหนดที่ตั้ง โดยไม่มีการเคลื่อนที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยบาร์โค้ดจะเคลื่อนที่มายังตำแหน่งระยะอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ทำการกำหนดไว้ เป็นเครื่องอ่านที่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีการเคลื่อนด้วยความเร็ว ส่วนมากจะนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดดังกล่าว ใช้งานกับโรงงานสายพานการผลิต เพื่อคัดแยกสินค้า หรือวัตถุ จากสายพานลำเรียง


      
                  
     

    วิธีการเลือกซื้อ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

    1. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดตามสภาพแวดล้อม หรือ สถานที่ในการใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ควรมีความทนทานเหมาะสมสำหรับการใช้งาน
    2. เลือกหัวอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่เราต้องการอ่าน 1D or 2D อย่างที่ได้กล่าวเบื้องต้น เกี่ยวข้อดี และข้อเสียระหว่างหัวอ่าน 1D และ 2D
    3. เลือกหัวอ่านเฉพาะ ให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่ต้องการใช้งาน เช่น เป็นบาร์โค้ดขนาดทั่วไป ขนาดเล็ก หรือเป็นบาร์โค้ดที่ฝังลงไปในวัตถุ เพื่อให้ง่าย และรวดเร็วในการใช้งาน
    3. เลือกการเชื่อมต่อให้เหมาะสมการใช้งาน
        -  อันดับแรก เลือกแบบมีสาย หรือ ไร้สาย โดยดูจากลักษณะการทำงานจริง ว่าแบบไหนเหมาะสำหรับการใช้งานที่สุด
        -  อันดับสอง เลือกการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Host หรือ Software ที่ใช้งานอยู่อย่างเหมาะสม เช่น คอมพิวเตอร์รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนบ้าง แบบไหนเหมาะสมในการเชื่อมต่อ หรือ Software รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนได้บ้าง
    4. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่เหมาะกับวิธีการใช้งานของเรา เช่น แบบมือจับ ตั้งโต๊ะ หรือ Fix-mount
    5. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยดูที่ราคา ยี่ห้อ ที่เหมาะสมกับองค์กร หรือ งบประมาณที่มีอยู่
    6. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด จากผู้ขายที่ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับองค์กรของเรา ไม่ใช่เลือกแค่เพียงราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดในปัจจุบันมีหลากหลาย
    7. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด จากบริษัทที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเรื่องการใช้งาน และบริการหลังการขาย

    ข้อมูล เฉพาะ ที่ควรทราบเกี่ยวกับ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Scanner Barcode)

    - ขนาดของตัวบาร์โค้ด เราจะเรียกว่า มิล(mil) : 1 มิล= 0.0254 มิลลิเมตร
    - ขนาดของตัวบาร์โค้ดที่เรียกว่า "มิล" เราจะวัดช่องว่างระยะห่าง ของแท่งบาร์โค้ดที่เล็กมากที่สุด ไม่ได้หมายถึงขนาดของตัวบาร์โค้ดทั้งหมด ซึ่งค่า มิล ของบาร์โค้ด เท่ากับ ขนาดของบาร์โค้ดทั้งหมด + ข้อมูล






    จากภาพตัวอย่างด้านบน จะเห็นได้ว่า "ขนาดบาร์โค้ด 1.78 x 0.50 นิ้ว มีข้อมูล (AIO12345678 Scanner Barcode)" มีค่า "มิล" น้อยกว่า"ขนาดบาร์โค้ด 1.53 x 0.50 นิ้ว มีข้อมูล (AIO12345678)"
                    ค่า "มิล" จะมีผลโดยกับอ่านบาร์โค้ด ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งเครื่องอ่านบาร์โค้ดแต่ละรุ่นจะระบุค่า "มิล" ที่สามารถอ่านบาร์โค้ดตาม เอกสารคุณสมบัติ ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

    - Host หมายถึง อุปกรณ์ฝั่งรับข้อมูลจาก เครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งอาจจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถรับข้อมูลจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้
    - สายสัญญาณ RS232 or Serial เป็นสายสัญญาณชนิดเดียวกัน และสายสัญญาณแบบ RS232 ที่ใช้งานกับ เครื่องอ่านบาร์โค้ดส่วนใหญ่ จะต้องใช้งานร่วมกับตัวจ่ายไฟ หรือ Adapter เสมอ เนื่องจาก Host ไม่ได้จ่ายไฟผ่านสาย RS232

    - การวัดระยะสัญญาณของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย ที่ระบุตามคุณสมบัติของตัวเครื่อง ข้อมูลระยะสัญญาณที่ทำการระบุไว้ หมายถึง การวัดระยะในห้องที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม ไร้ซึ่งสัญญาณรบกวน และสิ่งกีดขวางสัญญาณ หากนำมาใช้งานจริง ระยะสัญญาณอาจจะลดลงตามสภาพสิ่งแวดล้อม และสิ่งกีดขวาง

    ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ www.aio-ss.com

    3 เหตุผล ที่คุณต้องใช้โปรแกรมขายปลีกสำเร็จรูป
    ความคิดเห็น (0) 3 เหตุผล ที่คุณต้องใช้โปรแกรมขายปลีกสำเร็จรูป
    โปรแกรมขายปลีก สามารถเปลี่ยนราคาขายอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องติดป้ายราคาขายใหม่   รวมทั้งการลดราคา หรือให้ของแถมให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าจำนวนมากโดยอัตโนมัติตามขั้นตอนของจำนวนที่เพิ่มขึ้น  อีกทั้งโปรแกรมขายปลีกยังจัดรายการหรือโปรโมชั่นแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยบริการลูกค้าให้ได้รับความประทับใจและสะดวกรวดเร็วในการซื้อสินค้า  ซึ่งคุณสมบัติของการใช้งานโปรแกรมขายปลีก สามารถรองรับกับเครื่องบันทึกเงินสดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป

     

    1. โปรแกรมขายปลีก จัดสรรข้อมูลได้ละเอียด แม่นยำ

    โปรแกรมขายปลีกเหมาะสำหรับกิจการที่ใช้ระบบขายหน้าร้าน POS และต้องการทราบยอดสินค้าคงคลัง ได้ตลอดเวลาโปรแกรมขายปลีก เหมาะกับธุรกิจขายปลีก-ขายส่งทุกประเภท  ซึ่งจะมีส่วนช่วยบริหารงานขายหน้าร้านด้วยระบบ POS สมัยใหม่ รองรับระบบ ทัชสกรีน  และ E-Journal พร้อมด้วยสารพัดแคมเปญที่จะช่วยงานการตลาดและสามารถเชื่อมไปตัดสต๊อก ทำบัญชีได้ทันที นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมขายปลีกสำหรับร้านอาหาร  สามารถใช้งานง่าย ทันสมัย แน่นอนเลยว่าหากคุณเปิดร้านขายของ การสต๊อกสินค้าต้องเกิดขึ้น ซึ่งโปรแกรมขายปลีกจะช่วยคุณจัดสรรข้อมูลได้อย่างดีและแม่น ยำ  ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเช็คสต๊อกสินค้าได้ทันที  

     

    2. ประโยชน์ของ โปรแกรมขายปลีก

    โปรแกรมขายปลีกสามารถเช็คได้ว่าสินค้า หรือเมนูไหนขายดี และยังช่วยให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น  ช่วยทำโปรโมชั่น โดยสรุปยอดขายไม่ผิดพลาด ช่วยคำนวณยอดขายในแต่ละวันอย่างครบถ้วนและแม่นยำไม่เกิดของหาย ช่วยลดปัญหา เงินหาย หรือ ยอดขายไม่ตรงซึ่งจะมีการแจ้งเตือนสต็อกของคุณว่าสินค้าตัวไหนที่ใกล้หมดแล้ว ทำให้มองเห็นยอดขายแม้เจ้าของไม่อยู่หน้าร้าน  โปรแกรมขายปลีกยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการขายของออนไลน์ของคุณให้เติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง ช่วยลดแรงงานคนในการทำงานได้อย่างดี สามารถช่วยวิเคราะห์สินค้าที่ขายดี และมียอดขายน้อย เพื่อที่เราจะได้พิจารณาการจัดทำโปรโมชั่นต่างๆ หรือการซื้อสินค้าขายดีมาเพิ่ม ซึ่งโปรแกรมขายปลีกมีความรวดเร็วในการคำนวณราคาสินค้า และตอบกลับไปยังลูกค้า ผู้ใช้บริการและผู้ประกอบการ

      

    3. โปรแกรมขายปลีกช่วยบริหารร้านอย่างไร? ให้ขายดี

    หากเข้าใจในตัวระบบโปรแกรมขายปลีกและพร้อมที่จะนำมาใช้ที่ร้านอย่างเข้าใจดีแล้ว จุดแรกของประโยชน์ที่ได้คือ ในฐานะเจ้าของร้านจะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย ถูกต้อง และรวดเร็ว ช่วยลดความผิดพลาดในการบันทึกหรือจัดทำข้อมูลต่างๆด้วยมือ หรือจากระบบที่ไม่ดีพอมาก่อน โปรแกรมขายปลีก  ทำให้คุณได้ข้อมูลที่อยากได้อย่าง ยอดขาย กำไร จำนวนลูกค้า ฯลฯที่บันทึกไว้ จะช่วยให้ทราบผลประกอบการและนำไปวิเคราะห์ เพื่อนำไปวางแผนการดำเนินงานร้านต่อไปได้ซึ่งสามารถเรียกดูด้วยรายงานที่มีในระบบได้ทันที สามารถตรวจสอบได้ทันที แก้ไขปัญหาทันเวลา โดยเฉพาะสต็อกสินค้า ที่สามารถตรวจสอบสต็อกแต่ละตัวแต่ละขนาด ต้นทุน วิเคราะห์กำไรขาดทุนได้ตลอดเวลา ซึ่งโปรแกรมขายปลีกจะช่วยป้องกันการขายของผิด ป้องกันของหาย และตรวจสอบของหมดอายุหรือตั้งเตือนไว้ก่อนล่วงหน้าได้

     

    POSPAK แนะนำ โปรแกรมขายปลีก Software StartboxPOS 

    Startbox Point Of Sale การใช้ระบบการขายสินค้าคุณจะเข้าถึงความเข้าใจใน การขาย ต้นทุน ขาดทุนและกำไร ระบบการขายสินค้าจะช่วยให้การขายในยุกค์ปัจจุบันง่ายขึ้นและต่อยอดได้มากขึ้น ด้วยระบบ StartboxPOS : Point Of Sale ด้วย Funtions ต่างๆของระบบ POS

    • ขายสินค้า ปลีกส่ง
    • ขายสินค้าผ่าน Application
    • ระบบโปรโมชั่น
    • ระบบใบกำกับภาษี คืนภาษี
    • ระบบสมาชิก
    • รายงานมาตฐาน
    • ระบบคลังสินค้า และจัดซื้อ
    • ระบบลูกหนี้ เจ้าหนี้

    ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ www.posvision.co

     

     

    ลักษณะของ Touch screen แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
    ความคิดเห็น (0) ลักษณะของ Touch screen แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

     

    ลักษณะของ Touch screen แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

     

    โซลูชั่นส่วนใหญ่ที่อาศัยอินเตอร์เฟซเป็นการสัมผัสแทนการใช้ Keyboard และ Mouse นั้นจะใช้ Touch Screen เป็นอุปกรณ์สำคัญเป็นส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ส่วนของเซ็นเซอร์ที่ตรวจการสัมผัส ของแผงควบคุมที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเซ็นเซอร์ มาประมวลผลเป็นพิกัดสัมผัสสุดท้ายคือส่วนของ Software, Driver ซึ่งเป็นตัวเชื่อมกับ OS ทำให้ Touch Screen เป็นเสมือนอุปกรณ์อย่าง Mouse ดังนั้น Application ต่างๆ ที่พัฒนาโดนใช้ Mouse เป็นอินเตอร์เฟส (ส่วนใหญ่) ก็สามารถนำไปใช้กับ Touch Screen ได้ทันที อย่างไรก็ตามในการเลือก Touch Screen ที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับหลายปัจจัย และปัจจัยหนึ่งที่ต้องทราบคือ เรื่อง เทคโนโลยีของ Touch Screen แบบต่างๆ พร้อมทั้งจุดแข็งและ จุดอ่อนของเทคโนโลยี 

     

     

    Resistive

     

    เทคโนโลยี Resistive ถือว่าเป็นแบบที่ประหยัดและเหมาะกับการใช้งานประเภทต่างๆ ได้กว้างขวาง เช่นร้านอาหาร ร้านค้าที่ใช้เครื่อง POS งานควบคุมทางด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในอุปกรณ์พกพา อย่าง PDA, Mobile เป็นต้น Touch Screen แบบ Resistive จะประกอบด้วยเลเยอร์ด้านบนที่ยืดหยุ่น และเลเยอร์ด้านล่างที่อยู่บนพื้นแข็งคั่นระหว่าง 2 เลเยอร์ด้วยเม็ดฉนวนซึ่งทำหน้าที่แยกไม่ให้ด้านใน ของ 2 เลเยอร์สัมผัสกันเพราะด้านในของ 2 เลเยอร์นี้จะเคลือบด้วยสารตัวนำไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติ โปร่งแสงในเวลาจะมีการปล่อยกระแสที่เลเยอร์สารตัวนำ และเมื่อคุณกดที่ Touch Screen จะทำให้วงจร 2 เลเยอร์ต่อถึงกัน จากนั้นวงจรควบคุมก็จะคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามตำแหน่งที่สัมผัส เมื่อคำนาณค่ากระแสตามแนวตั้งและแนวนอนก็จะำได้ตำแหน่งที่สัมผัสบนหน้าจอ

    จุดแข็งของ Resistive

           ราคาไม่แพง

           สามารถใช้อะไรสัมผัสก็ได้

           หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด

           กินไฟน้อย

     
     
     
    Capacitive

    เทคโนโลยี Capacitive มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งความทนทานความโปร่งแสงมักเป็นที่นิยมใน Application ประเุภท เกมส์ Entertrainment  ATM, Kiosk อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม และ POS โครงสร้างของ Touch Screen แบบ Capacitive นั้นประกอบด้วยแผ่นแก้วเคลือบผิวด้วย อ็อกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง เมื่อถึงเวลาการใช้งานก็จะมีการป้อนแรงดันไฟฟ้าที่มุมทั้งสี่ของ Touch Screen เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความเข้มสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งแผ่น ผู้ใช้จะต้องใช้นิ้วมือเปล่าๆ สัมผัสที่จอเพื่อดึงกระแสจากแต่ละมุมที่ให้แรงดันตกลง จากนั้นแผงวงจรควบคุมก็จะคำนวณเป็นตำแหน่งที่สัมผัสได้

    จุดแข็งของ Capacitive

           มีความคมชัด

           แสงจากหน้าจอสามารถผ่านออกมาได้ ภาพจึงชัด

           หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด

     
     
     
     
    Acousttic wave 

    ด้วยความโดดเด่นในเรื่องความคมชัดสูงความแม่นยำทำให้มีการใช้งานเทคโนโลยี Acousttiv wave ใน Application Kiosk Touh Screen แบบนี้จะมีตัวส่งสัญญาน ซึ่งยึดติดไว้ที่ขอบกระจกเพื่อส่งสัญญานอุลตร้าโซนิกส์ไปทั้งสองระนาบ คลื่นเสียง นี้จะสะท้อนผ่านไปทั้งพื้นผิวของกระจกมายังเซ็นเซอร์อีกด้านหนึ่ง เมื่อมีการสัมผัส ด้วยนิ้วหรือสไตตัลที่มีปลายอ่อน จะมีการดูดซับพลังงานจากคลื่นเสียง ทำให้แผง ควบคุมสามารถวัดตำแหน่งการสัมผัสได้จาำกการเปลี่ยนแปลงขนาดของคลื่นเสียง

    จุดแข็งของ Acousttic wave

           ภาพจะมีความคมชัด

           มีความทนทานมาก

           มีความแม่นยำสูง

           มีความสามารถในการตรวจจับตามแนวลึก (แกน Z) ได้ด้วย

           แผ่นแก้วด้านหน้ามีความคงทน

     
     
     
    Surface-acoustic-wave (SAW)


    ด้วยความโดดเด่นในเรื่องความคมชัดสูงความเม่นยำทำไห้มีการใช้งานเทคโนโลยี Acousttic wave ใน Application Kiosk Touh Screen แบบนี้จะมีตัวส่งสัญญานซึ่งยึดติดไว้ที่ขอบกระจกเพื่อส่งสัญญานอุลตร้าโซนิกส์ไปทั้งสองระนาบ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนผ่านไปทั้งพื้นผิวของกระจกมายังเซ็นเซอร์อีกด้านหนึ่ง เมื่อมีการสัมผัสด้วยนิ้วหรือสไตตัลที่มีปลายอ่อน จะมีการดูดซับพลังงานจากคลื่นเสียง ทำให้แผงควบคุมสามารถวัดตำแหน่งการสัมผัสได้จากการเปลี่ยนแปลงขนาดของคลื่นเสียง

    ข้อดีของจอ Touch Screen แบบ Saw-acousttic-wave
    • ภาพจะมีความคมชัด
    • มีความทนทานมาก
    • มีความแม่นยำสูง
    • มีความสามารถในการตรวจจับตามแนวลึก (แกน Z)ได้ด้วย
    • แผ่นแก้วด้านหน้ามีความคงทน
     
     
     
     

    Infared 

    Touch Screen แบบ Infared จะถูกใช้งานในจอแสดงผลขนาดใหญ่ ในสถาบันการเงินและทางการทหาร เทคโนโลยีนี้ทำงานโดยการตรวจ จับแสง ดังนั้นแทนที่จะมีแผ่นแก้วอยู่หน้าจอเหมือนกับเทคโนโลยีอื่น แต่จะทำเป็นกรอบแทน ภายในกรอบจะมีแผงของแหล่งกำเนิดแสงที่ เรียกว่า LED ที่ด้านหนึ่งพร้อมกับตัวตรวจจับแสงที่ด้านตรงข้ามกัน จึงเป็นเสมือนกริดของลำแสงทั่วจอ เมื่อมีวัตถุใดสัมผัสก็จะไปตัด ลำแสงไม่ให้ผ่านไปถึงตัวตรวจ จับแสง ทำให้แผงควบคุมสามารถ ทราบตำแหน่งพิกัดสัมผัสได้ การใช้งานส่วนใหญ่ ระบบการประชุมผ่านวิดีโอ , ศูนย์บัญชาการ, ซุ้มห้างสรรพสินค้า, สถานที่จัดงานสาธารณะ, การโฆษณาเชิงโต้ตอบ, ศูนย์รวมความบันเทิงของโรงแรม, พยากรณ์อากาศ

    จุดแข็งของ Infared

           แสงผ่านได้ 100% เนื่องจากไม่มีอะไรมาบังหน้าจอ

           มีความแม่นยำสูง

     

     

     

    ความแตกต่างระหว่างจอแสดงผลแบบสัมผัสเทคโนโลยีอินฟราเรดและจอสัมผัสแบบ Capacitive Touch

    Infrared (IR) และ Projected Capacitive (PCAP) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันทั่วไปสองประเภท แม้ว่าคุณอาจจะไม่สามารถบอกความแตกต่างได้เมื่อใช้หน้าจอสัมผัสแบบโต้ตอบเว้นแต่คุณจะทราบว่าจะระบุว่าเป็นรูปแบบใดพวกเขามีโครงสร้างและการออกแบบแตกต่างกันมาก ด้านล่างนี้เราจะแบ่งความแตกต่างระหว่างสองข้อนี้เพื่อให้คุณเข้าใจดีว่าทำไมคุณถึงเลือกซื้อหรือให้เช่าระบบสัมผัสของคุณได้ดีกว่าที่อื่น

     

    หน้าจอสัมผัสแบบ Capacitive ที่คาดการณ์ไว้

    ซอฟต์แวร์หน้าจอสัมผัสของ PCAP มักใช้ในโทรศัพท์สมาร์ทและแท็บเล็ต แต่สามารถใช้กับหน้าจอขนาดใหญ่ได้มากขึ้น ทำงานผ่านการใช้ตารางที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้โดยการแตะนิ้วของคุณ เทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสแบบ capacitive ที่คาดการณ์ไว้ไม่จำเป็นต้องมีฝาปิด พวกเขาตรวจพบเฉพาะมือหรือ styluses PCAP แสดงความถูกต้องแม่นยำมากและสามารถสัมผัสได้ถึง 60 จุด

     

    หน้าจอสัมผัสแบบอินฟราเรด

    เทคโนโลยี IR touch เกี่ยวข้องกับการซ้อนทับแบบฝังตัวของคานอินฟราเรดจากบนลงล่างและด้านข้างไปมารอบ ๆ ฝาปิดของอุปกรณ์ เมื่อเครื่องบินที่มองไม่เห็นจากคานที่หักด้วยวัตถุใด ๆ อุปกรณ์จะลงทะเบียนจุดสัมผัส ด้วยจุดสัมผัสที่ใช้งานได้ถึง 40 จุด จอแสดงผลแบบสัมผัสของ IR มีความแม่นยำน้อยกว่าการแสดง PCAP กล่าวได้ว่าจอภาพอินฟราเรดยังคงมีความถูกต้องเพียงพอที่จะใช้ในการตั้งค่าต่างๆได้หลากหลาย แต่เมื่อใช้กลางแจ้งในวันที่มีแสงจ้าแดดแสงแดดอาจรบกวนการรับสัมผัสของทับซ้อนกัน

     

    หลักการทำงานของเทคโนโลยี IR และ PCAP

    อินฟราเรด

    capacitive

    แผงสัมผัสแบบ capacitive ที่คาดการณ์ไว้มักใช้สำหรับหน้าจอขนาดเล็กกว่าพาเนลสัมผัสแบบสัมผัสพื้นผิว พวกเขาได้รับความสนใจอย่างมากในโทรศัพท์มือถือ iPhone, iPod Touch และ iPad ใช้วิธีนี้เพื่อให้ได้ฟังก์ชันการทำงานแบบมัลติทัชที่มีความแม่นยำสูงและมีความเร็วในการตอบสนองสูง

    โครงสร้างภายในของแผงสัมผัสเหล่านี้ประกอบด้วยพื้นผิวผสมผสานชิพ IC เพื่อประมวลผลการคำนวณซึ่งเป็นชั้นของอิเล็กโทรดที่มีความโปร่งใสจำนวนมากอยู่ในรูปแบบเฉพาะ พื้นผิวถูกปกคลุมด้วยกระจกฉนวนหรือฝาครอบพลาสติก เมื่อนิ้วเข้าใกล้พื้นผิวความจุไฟฟ้าสถิตระหว่างขั้วไฟฟ้าหลายตัวจะเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กันและตำแหน่งที่เกิดการติดต่อสามารถระบุได้อย่างแม่นยำโดยการวัดอัตราส่วนระหว่างกระแสไฟฟ้าเหล่านี้

     

     

    ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ www.th.u-touchscreen.net

    EPSON ColorWorks TM-C3510  เครื่องพิมพ์ฉลากสี
    ความคิดเห็น (0) EPSON ColorWorks TM-C3510 เครื่องพิมพ์ฉลากสี
    เครื่องพิมพ์ฉลากสี "Epson Label Printer" ในตระกูล ‘ColorWorks’ รองรับการทำงานสำหรับธุรกิจระดับ SME งานคลังสินค้า บริการเพิ่มมูลค่า ไปจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ด้วยคอนเซ็ปต์​ ‘Just in Time Color’ ปิดจุดอ่อนงานพิมพ์ฉลากสี ลดความซับซ้อนและเสริมความยืดหยุ่นในกระบวนการ แก้ไขปัญหาต้นทุนจม
    ความแตกต่างระหว่าง VA และ watts
    ความคิดเห็น (0) ความแตกต่างระหว่าง VA และ watts

    การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง watts กับ VA นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อย่างไรก็ตามเราต้องพิจารณาก่อนในเบื้องต้นเกี่ยวกับศัพท์ในด้านพลังงานไฟฟ้า

    กำลังไฟฟ้าจริง (วัดเป็นหน่วย watts) คือส่วนหนึ่งของกำลังไฟฟ้าที่ส่งผลให้เกิดการใช้ไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้นั้นมีความสัมพันธ์กับความต้านทานไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า ยกตัวอย่างการใช้ไฟฟ้าก็เช่น ไส้หลอดไฟในหลอดไฟ

    กำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ หรือ Reactive power (วัดค่าเป็นหน่วย VAR หรือ voltamps reactive) เป็นส่วนหนึ่งของกระแสไฟฟ้าไหลเวียนที่เกิดจากพลังงานที่เก็บไว้ พลังงานที่เก็บไว้นั้นมีความสัมพันธ์กับการมีอยู่ของตัวเหนี่ยวนำ (inductance) และ/หรือความจุไฟฟ้า (capacitance) ในแผงวงจรไฟฟ้า ตัวอย่างของพลังงานที่เก็บไว้ ได้แก่ หลอดไฟของแฟรชที่ชาร์จถูกชาร์จในกล้องถ่ายรูป

    กำลังไฟฟ้าปรากฏ หรือ Apparent power (วัดค่าเป็นหน่วย VA หรือ voltamps) เป็นค่าทางคณิตศาสตร์โดยเป็นการรวมหน่วยไฟฟ้าจริงกับไฟฟ้ารีแอคทีฟเข้าด้วยกัน

    ความสัมพันธ์ทางเลขาคณิตระหว่างกำลังไฟฟ้าปรากฏ กำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟและกำลังไฟฟ้าจริงปรากฏตามภาพ Power Triangle ด้านล่างนี้:

    ในทางคณิตศาสตร์นั้น กำลังไฟฟ้าจริง (watts) มีความสัมพันธ์กับกำลังไฟฟ้าปรากฏ (VA) โดยใช้สัดส่วนในทางตัวเลขซึ่งถูกอ้างถึงเป็นหน่วยที่เรียกว่า power factor (PF) ซึ่งค่าที่แสดงจะเป็นรูปแบบของเลขทศนิยมซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1.0 เสมอ ยกตัวอย่างอุปกรณ์ไอทีชนิดใหม่ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ปกติจะมีค่า PF เท่ากับ 0.9 หรือสูงกว่า สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer หรือ PC) ค่านี้จะอยู่ระหว่าง 0.60-0.75

    ด้วยการใช้สูตรการคำนวณอันใดอันหนึ่งดังต่อไปนี้ การคำนวณสามารถทำได้เพื่อพิจารณาหาค่าบางส่วนที่ขาดหายไปได้

    Watts = VA x Power Factor หรือ VA = Watts ÷ Power Factor

    เนื่องจากอุปกรณ์หลายประเภทถูกวัดกำลังไฟฟ้าเป็น watts การพิจารณาถึง Power Factor จึงมีความสำคัญเมื่อจำเป็นต้องกำหนดขนาดของ UPS หากคุณไม่คำนึงถึง PF คุณอาจกำหนดขนาด UPS ของคุณต่ำเกินไป ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งถูกกำหนดค่าไฟฟ้าไว้ที่ 525 watts และมี power factor เท่ากับ 0.7 ผลก็คืออุปกรณ์ดังกล่าวคือ โหลดขนาด 750 VA

    750 VA = 525 Watts / 0.7 PF

    การกำหนดขนาดของ UPS ให้ทำงานที่ความจุ 75% ผลที่ได้คือ UPS ขนาด 1000 VA (750 VA / 0.75 = 1000 VA)

    แปลงค่า amps ให้เป็น VA

    Single-phase: amps x voltage (120 โวลต์ในสหรัฐอเมริกา) 10A x 120V = 1200VA
    Three phase: Amps x volts x 1.732 = VA.

     

    จากรูปแก้วเบียร์ เมื่อเรารินเบียร์ใส่แก้วเราจะได้น้ำเบียร์ส่วนหนึ่ง และฟองเบียร์อีกส่วนหนึ่ง สิ่งที่เราต้องการจริงๆคือปริมาตรของน้ำเบียร์ที่เรานำมาดื่มได้จริง ส่วนฟองเบียร์นั้นเราไม่ต้องการ แต่เมื่อรินใส่แก้วแล้วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีฟองเบียร์มาด้วย แต่เราสามารถลดปริมาณของฟองเบียร์ให้น้อยลงได้โดยการรินเบาๆ หรือตะแคงแก้ว ก็ทำให้เกิดฟองเบียร์น้อยลงและก็ทำให้เราได้ปริมาตรของน้ำเบียร์เพิ่มมากขึ้นในแก้วเดียวกัน ระบบแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ก็เช่นกันที่เราหลีกเลี่ยงกำลังไฟฟ้าแฝงไม่ได้ แต่เราทำให้มันน้อยลงได้ โดยทางเวคเตอร์หรือทางวิศวกรรมเราเรียกว่าการเพิ่มค่า Power Factor ตามรูปสามเหลี่ยม ก็คือมุมหรือองศา นั่นเอง

     

    UPS มีอยู่ด้วยกันสองแบบหลักๆคือ Off-Line UPS และ On-Line UPS แบบที่เป็น Off-Line นั้นจะสำรองไฟอย่างเดียวเมื่อไฟดับ ซึ่งจะไม่ช่วยปรับสภาพไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟเกิน แต่ในเมืองไทย UPS ที่มีขายเกือบทั้งหมดก็จะเป็นแบบ On-Line ซึ่งจะมีส่วนประกอบสำคัญคือ Stabilizer ที่ช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม

    กำลังของ UPS (มีหน่วยเป็น VA)

    การเลือกซื้อ UPS ว่าควรจะใช้ซักกี่ VA นั้น ให้ลองประมาณว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นกินไฟฟ้าซักกี่ Watts แล้วเอาค่า Watts ที่คุณต้องใช้ไปหารด้วยค่า Power Factor จะได้เป็นค่า VA ออกมา กรณีที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เช่น TV จะมีบอกขนาด Watts ให้คุณรู้เลย แต่ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์

    สมมุติว่า คุณคิดว่าคอมพิวเตอร์ของคุณกินกำลังไฟฟ้า 250 Watts และ Power Factor ของ UPS ที่คุณกำลังเลือกใช้มีค่าเป็น 0.7 กรณีนี้ คุณเอา 250 Watts/0.7 = 357.14 VA ถ้าหากว่าคุณเลือก UPS ที่มีขนาด 400 VA ก็ยังสามารถใช้งานได้ แต่ว่าจะน่าหวาดเสียวเกินไปหน่อย คุณควรจะเผื่อไว้ซักเท่าครึ่ง อาจจะเป็น 500VA ก็ได้ หรือถ้าคุณต้องการให้มันสำรองไฟฟ้านานหน่อย ก็เลือกเป็นแบบ 600 VA ซะเลย

    อย่างไรก็ตาม หากคุณเลือกใช้ UPS ที่มีกำลังมากเกินไปก็ไม่ได้ช่วยยืดอายุการใช้งานหลังไฟฟ้าดับให้มากขึ้นซักเท่าไร ขึ้นอยู่กับการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าของวงจรที่อยู่ใน UPS รุ่นนั้นๆด้วย เช่น หากคุณใช้ UPS ขนาด 500VA สามารถสำรองกระแสไฟฟ้าได้ 10 นาที แล้วคุณเปลี่ยนมาใช้ UPS ขนาด 1000VA อาจจะสำรองไฟฟ้าได้เพียง 17 นาที เท่านั้นเอง

    ความจุของ UPS นั้นจะบอกเป็น VA ซึ่งทำให้เราๆท่านๆสับสนเพราะไม่สามารถคำนวนได้ว่ามันจุเท่าไหร่ แนะนำวิธีการที่จะใช้ดูความสามารถของ UPS โดยการดูที่ Power Factor ซึ่งแทบทุกยี่ห้อจะบอกไว้ เมื่อเราได้ค่า Power Factor ของ UPS ตัวนั้นแล้วให้นำมาคูณกับค่า VA จะทำให้ได้หน่วยเป็น Watt ที่ UPS ตัวนั้นๆสามารถรองรับได้

    ตัวอย่างที่ 1 UPS ยี่ห้อหนึ่งขนาด 500 VA มี Power Factor 0.6
    UPS ตัวนี้จะสามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ 500 x 0.6 = 300 Watt

    ตัวอย่างที่ 2 UPS ยี่ห้อหนึ่งขนาด 500 VA มี Power Factor 0.8
    UPS ตัวนี้จะสามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ 500 x 0.8 = 400 Watt

    ในการเลือกที่ Watt นั้นจะทำให้เราทราบความสามารถของ UPS แต่จะต้องคำนึงถึงรายละเอียดอื่นๆด้วย เช่น ความสามารถในการปรับแรงดันไฟฟ้า ความสามารถในการสำรองไฟฟ้า ความถี่ของไฟฟ้า ฯลฯ

     

    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก powerquality

    Mifare card ต่างจาก Proximity Card ยังไง?
    ความคิดเห็น (0) Mifare card ต่างจาก Proximity Card ยังไง?
    บัตรเป็นส่วนที่สำคัญต่อการใช้งานอย่างยิ่งกับระบบควบคุมการเข้า-ออก เพื่อใช้ยืนยันการใช้สิทธิ์เข้า-ออกสถานที่ที่เฉพาะ บัตรนั้นแบ่งการใช้ตามของแต่ละประเภทและแต่ละคลื่นความถี่ ซึ่งมีคลื่นความถี่ที่หลากหลายและชนิดของบัตรก็มีหลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องอ่านบัตร และ อุปกรณ์ที่ต้องการนำไปใช้งาน