ค้นหา
ไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ...ปิด
    RSS

    แสดงบทความเกี่ยวกับ จำหน่ายสติ๊กเกอร์

    สติ๊กเกอร์ Thermal Transfer กับ Direct Thermal ต่างกันอย่างไร
    ความคิดเห็น (0) สติ๊กเกอร์ Thermal Transfer กับ Direct Thermal ต่างกันอย่างไร

    สติ๊กเกอร์แบบ Thermal Transfer คือเมื่อความร้อนจากหัวพิมพ์ถ่ายโอนไปยังริบบอน วัสดุหรือหมึกบนริบบอนจะย้ายไปติดยังสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Barcode label) การพิมพ์แบบโอนถ่ายความร้อนผ่านผ้าหมึกยังลดแรงเสียดทานของหัวพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เนื่องจากหัวพิมพ์ไม่ต้องสัมผัสกับเนื้อสติ๊กเกอร์โดยตรงจึงช่วยยืดอายุของหัวพิมพ์ การพิมพ์แบบใช้ริบบอน ยังสามารถเลือกใช้ริบบอน และสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดหรือลาเบล (Barcode Label) ได้หลากหลายชนิดอีกด้วย

    ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
    • ภาพที่พิมพ์ออกมาสามารถเก็บไว้ได้นาน
    • ภาพที่พิมพ์ออกมาสามารถทนความร้อนและแสงแดดได้
    • มีริบบอนที่เป็นสี
    • หัวพิมพ์จะมีอายุการใช้งานที่นาน
    • มีวัสดุฉลากให้เลือกหลายประเภท
    • วัสดุบางชนิดสามารถทนทานต่อสารเคมีได้ดี
    • ต้องมีการเปลี่ยนริบบ้อน
    • การที่มีสารเคมีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพิมพ์
      หมายความว่าจะต้องใช้เวลาในการหยุดงานมากขึ้นและอาจจะมีการเสีย
    • คุณภาพในการพิมพ์อาจจะลดลง
    • หากตัวฉลากกับริบบอนไม่สามารถเข้ากันได้
    • ถ้าหากใช้ริบบอนผิดประเภทอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการพิมพ์

     

    สติ๊กเกอร์แบบ Direct Thermal การพิมพ์แบบใช้ความร้อนโดยตรง คือการพิมพ์แบบหัวพิมพ์สัมผัสกับผิวหน้ากระดาษสติ๊กเกอร์โดยตรง ไม่ต้องใช้ริบบอน โดยผิวหน้าของสติ๊กเกอร์ จะเคลือบสารเคมี เมื่อโดนความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เพราะเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ริบบอน วิธีการพิมพ์แบบนี้อาจดูเหมือนจะประหยัดเพราะไม่จำเป็นต้องซื้อริบบอน แต่วิธีการแบบนี้จะส่งผลให้หัวพิมพ์เสียเร็วกว่าการพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อนผ่านริบบอน เนื่องจากหัวพิมพ์ต้องสัมผัสกับผิวเนื้อกระดาษโดยตรง ผิวเนื้อกระดาษที่หยาบจะทำให้หัวพิมพ์เสียเร็วขึ้น ข้อเสียในการพิมพ์ Direct Thermal ก็คือว่าสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองตลอดเวลาและงานพิมพ์จะจางหายไปสีเทาจางๆ ฉลากที่พิมพ์แล้วมีอายุประมาณ 6 เดือน

     

    ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
    • ใช้งานง่าย ไม่ต้องใส่ริบบอน หรือ ไม่ต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับริบบอน
    • ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับรอยย่นของริบบ้อน
    • ไม่ต้องประสบปัญหาทางด้านกลไกต่างๆ รวมทั้งกลไกริบบอน
    • ลดสต๊อกของในคลังสินค้าเพราะไม่ต้องสต๊อกริบบ้อน
    • ขจัดปัญหาเรื่องฉลากกับริบบ้อนไม่เข้ากัน
    • ไม่ต้องระสบปัญหาการกำจัดริบบอน
    • ความเร็วในการพิมพ์ต่ำ
    • อายุการใช้งานของหัวพิมพ์น้อย
    • กระดาษจะเหลืองลงหากเก็บไว้นาน
    • กระดาษจะดำมากหาก โดนแสงแดดหรือโดนความร้อนมากเกินไป
    • พื้นผิวพิเศษ (เช่นแผ่นฟิล์ม) อาจมีราคาแพง
    • มีวัสดุให้เลือกน้อย
    • ความทนทานต่อสารเคมีต่ำ
    • สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด แบบ Direct Thermal คือ สติ๊กเกอร์ที่เคลือบสารเคมีไว้ด้านหน้า ใช้ระบบถ่ายเทความร้อนผ่านหัวพิมพ์ลงบนสติ๊กเกอร์ เป็นวัสดุจำพวกกระดาษคล้ายกับกระดาษแฟกซ์
    • ลักษณะงานที่นำไปใช้ : การนำสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด แบบ Direct Thermal มาประยุกต์การใช้งาน ใช้กับงานที่ไม่ต้องการความคงทน ใช้สำหรับชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานสั้นฯ เพราะสติ๊กเกอร์ความร้อนจะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของแสง UV และความร้อน ใช้ในงานที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าเร็ว ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้
    • ผ้าหมึกที่ต้องใช้คู่กับกระดาษ : เป็นวัสดุที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์ จะใช้ในงานที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าเร็ว ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้

     

     

     

     

     

     

     

    ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี”
    ความคิดเห็น (0) ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี”
    ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี” สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภคหรือลูกค้าในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า คือความมั่นใจว่าสินค้านั้นมีคุณภาพจริงๆ และสิ่งที่จะทำให้เกิดความั่นใจได้ นั่นคือการได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ฉลากสินค้าจึงมีความสำคัญกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตโดยโรงงาน หรือนำเข้ามาจำหน่าย ถือเป็นสินค้าที่ต้องควบคุมฉลาก