ค้นหา
ไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ...ปิด
    RSS

    บล็อกโพสต์ของ '2020' 'เมษายน'

    สติ๊กเกอร์ Thermal Transfer กับ Direct Thermal ต่างกันอย่างไร
    ความคิดเห็น (0) สติ๊กเกอร์ Thermal Transfer กับ Direct Thermal ต่างกันอย่างไร

    สติ๊กเกอร์แบบ Thermal Transfer คือเมื่อความร้อนจากหัวพิมพ์ถ่ายโอนไปยังริบบอน วัสดุหรือหมึกบนริบบอนจะย้ายไปติดยังสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Barcode label) การพิมพ์แบบโอนถ่ายความร้อนผ่านผ้าหมึกยังลดแรงเสียดทานของหัวพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เนื่องจากหัวพิมพ์ไม่ต้องสัมผัสกับเนื้อสติ๊กเกอร์โดยตรงจึงช่วยยืดอายุของหัวพิมพ์ การพิมพ์แบบใช้ริบบอน ยังสามารถเลือกใช้ริบบอน และสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดหรือลาเบล (Barcode Label) ได้หลากหลายชนิดอีกด้วย

    ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
    • ภาพที่พิมพ์ออกมาสามารถเก็บไว้ได้นาน
    • ภาพที่พิมพ์ออกมาสามารถทนความร้อนและแสงแดดได้
    • มีริบบอนที่เป็นสี
    • หัวพิมพ์จะมีอายุการใช้งานที่นาน
    • มีวัสดุฉลากให้เลือกหลายประเภท
    • วัสดุบางชนิดสามารถทนทานต่อสารเคมีได้ดี
    • ต้องมีการเปลี่ยนริบบ้อน
    • การที่มีสารเคมีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพิมพ์
      หมายความว่าจะต้องใช้เวลาในการหยุดงานมากขึ้นและอาจจะมีการเสีย
    • คุณภาพในการพิมพ์อาจจะลดลง
    • หากตัวฉลากกับริบบอนไม่สามารถเข้ากันได้
    • ถ้าหากใช้ริบบอนผิดประเภทอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการพิมพ์

     

    สติ๊กเกอร์แบบ Direct Thermal การพิมพ์แบบใช้ความร้อนโดยตรง คือการพิมพ์แบบหัวพิมพ์สัมผัสกับผิวหน้ากระดาษสติ๊กเกอร์โดยตรง ไม่ต้องใช้ริบบอน โดยผิวหน้าของสติ๊กเกอร์ จะเคลือบสารเคมี เมื่อโดนความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เพราะเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ริบบอน วิธีการพิมพ์แบบนี้อาจดูเหมือนจะประหยัดเพราะไม่จำเป็นต้องซื้อริบบอน แต่วิธีการแบบนี้จะส่งผลให้หัวพิมพ์เสียเร็วกว่าการพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อนผ่านริบบอน เนื่องจากหัวพิมพ์ต้องสัมผัสกับผิวเนื้อกระดาษโดยตรง ผิวเนื้อกระดาษที่หยาบจะทำให้หัวพิมพ์เสียเร็วขึ้น ข้อเสียในการพิมพ์ Direct Thermal ก็คือว่าสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองตลอดเวลาและงานพิมพ์จะจางหายไปสีเทาจางๆ ฉลากที่พิมพ์แล้วมีอายุประมาณ 6 เดือน

     

    ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
    • ใช้งานง่าย ไม่ต้องใส่ริบบอน หรือ ไม่ต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับริบบอน
    • ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับรอยย่นของริบบ้อน
    • ไม่ต้องประสบปัญหาทางด้านกลไกต่างๆ รวมทั้งกลไกริบบอน
    • ลดสต๊อกของในคลังสินค้าเพราะไม่ต้องสต๊อกริบบ้อน
    • ขจัดปัญหาเรื่องฉลากกับริบบ้อนไม่เข้ากัน
    • ไม่ต้องระสบปัญหาการกำจัดริบบอน
    • ความเร็วในการพิมพ์ต่ำ
    • อายุการใช้งานของหัวพิมพ์น้อย
    • กระดาษจะเหลืองลงหากเก็บไว้นาน
    • กระดาษจะดำมากหาก โดนแสงแดดหรือโดนความร้อนมากเกินไป
    • พื้นผิวพิเศษ (เช่นแผ่นฟิล์ม) อาจมีราคาแพง
    • มีวัสดุให้เลือกน้อย
    • ความทนทานต่อสารเคมีต่ำ
    • สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด แบบ Direct Thermal คือ สติ๊กเกอร์ที่เคลือบสารเคมีไว้ด้านหน้า ใช้ระบบถ่ายเทความร้อนผ่านหัวพิมพ์ลงบนสติ๊กเกอร์ เป็นวัสดุจำพวกกระดาษคล้ายกับกระดาษแฟกซ์
    • ลักษณะงานที่นำไปใช้ : การนำสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด แบบ Direct Thermal มาประยุกต์การใช้งาน ใช้กับงานที่ไม่ต้องการความคงทน ใช้สำหรับชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานสั้นฯ เพราะสติ๊กเกอร์ความร้อนจะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของแสง UV และความร้อน ใช้ในงานที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าเร็ว ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้
    • ผ้าหมึกที่ต้องใช้คู่กับกระดาษ : เป็นวัสดุที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์ จะใช้ในงานที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าเร็ว ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้

     

     

     

     

     

     

     

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบบ พิมพ์โดยใช้ความร้อน กับ พิมพ์โดยใช้หมึก แตกต่างกันยังไง?
    ความคิดเห็น (0) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบบ พิมพ์โดยใช้ความร้อน กับ พิมพ์โดยใช้หมึก แตกต่างกันยังไง?

    Barcode printer สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท

    1. Direct Thermal   เป็นเครื่องพิมพ์ที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์
    2. Thermal Transfer เป็นเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้ตัวกลาง (Ribbon)ในการพิมพ์

    เทคโนโลยีทั้งสองแบบจะใช้หัวพิมพ์ชนิด Flat-Head ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดความร้อนบริเวณปลายของหัวพิมพ์ และโดยทั่วไปหัวพิมพ์จะมีความละเอียดที่ 200 dpi และ 300 dpi

    หมายเหตุ Direct Thermal จะใช้ในงานประเภทสินค้าบริโภค เช่น. อาหาร ผักผลไม้ ระบบThermal Transfer จะใช้กับงานที่ต้องการความคงทนและมีอายุการใช้งานนาน เช่น. เครื่องใช้ไฟฟ้าทรัพย์สิน, อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายด้าน Ribbon

     

    Direct Thermal เป็นเครื่องพิมพ์ที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์

             เทคโนโลยีการพิมพ์ลงบนกระดาษความร้อน โดยใช้หัวพิมพ์ซึ่งมีตัวกำเนิดความร้อนทำหนาที่ถ่ายเทความร้อนมาที่กระดาษทำ ให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมี และทำให้สีที่กระดาษเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสีที่เปลี่ยนนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษด้วย โดยปกติการพิมพ์แบบนี้จะใช้สำหรับชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานสั้นฯ เพราะกระดาษความร้อนจะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของแสง UV และความร้อน ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้

    • เป็นการสร้างภาพโดยให้ความร้อนบนกระดาษเคลือบสารเคมี บริเวณที่กระดาษถูกความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
    • ภาพ 2 สี สามารถสร้างได้โดยให้อุณหภูมิของแต่ละสีต่างกัน (โดยส่วนมากเป็นสีแดง)

    ส่วนประกอบของ Direct Thermal



    • ในการพิมพ์ กระดาษเคลือบผิวจะถูกใส่อยู่ระหว่างหัวพิมพ์และลูกกลิ้ง เครื่องพิมพ์ส่งกระแสไฟฟ้าไปที่ตัวตานทานกระแสไฟฟ้าของหัวพิมพ์และเกิดความร้อนกระตุ้นให้เกิดภาพบนกระดาษเคลือบสารเคมี
    • กระดาษเคลือบสารเคมีที่อยู่ในสถานะของแข็ง (สีย้อมและส่วนผสมของตัวกำเนิดภาพ) เมื่อหัวพิมพ์ได้รับความร้อนสารเคลือบจะตอบสนองเปลี่ยนเป็นภาพและเปลี่ยนกลับเป็นของแข็งอย่างรวดเร็ว
    • ตั้งแต่ปี 1990 fax ใช้เทคโนโลยีของ Thermal printers จนถึงศตวรรษที่ 21 มาถูกแทนที่ด้วย thermal wax transfer, laser, inkjet, และการพิมพ์บนกระดาษธรรมดา
    • ในช่วงแรกสารเคลือบที่ใช้บนกระดาษ thermal มีปัญหาในเรื่อง การถลอก การเสียดสี  (อาจเกิดความร้อนทำให้กระดาษดำ)  แสง (ทำให้ภาพจาง)
    • ภาพพิมพ์ไม่เหมาะกับการเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูง ไม่ควรเกิน70 องศาเซลเซียส
    • เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้นๆ เช่นการจัดส่งสินค้าภายในประเทศหรือติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ในร่ม

     

    Thermal Transfer เป็นเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้ตัวกลาง (Ribbon) ในการพิมพ์

           เทคโนโลยีการส่งผ่านความร้อนไปยังแผ่นฟิล์ม หมึก(Ribbon) และหมึกก็จะถ่ายทอดไปสู่พื้ผิวหรือกระดาษอีกทีหนึ่ง แผ่นฟิล์มริบบ้อน ที่ใช้นี้จะเป็นแผ่นบางฯ ซึ่งประกอบด้วย wax หรือ wax/resin จะทำหน้าที่เป็นหมึกเมื่อโดนความร้อนก็จะเปลี่ยนเป็นของเหลวและจะมาติดกับ ชิ้นงาน ไม่เหมือนกับ Direct transfer และจะไม่เกิดปฎิกิริยาทางเคมีเหมือนกระดาษความร้อน การพิมพ์โดยใช้ Thermal transfer ใช้กับประเภทสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, ทรัพย์สิน, อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายด้าน Ribbon

     

    • เป็นการสร้างภาพโดยความร้อนจากหัวพิมพ์ถ่ายโอนไปยังริบบอน วัสดุหรือหมึกบนริบบอนจะย้ายไปติดยังวัสดุพิมพ์
    ส่วนประกอบของ Thermal Transfer

     



    ชนิดของสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Barcode Sticker หรือ Label) แบบ Thermal Transfer 

    • POLY LASER - งานที่มีความร้อน
    • WHITE POLY - งานด้านอิเล็คทรอนิกส์, ทรัพย์สิน
    • BOPP - งานที่มีความเย็น
    • UPO - งานห้องเย็น
    • PP WHITE - งาน JEWELRY
    • LAMINATE - งานเครื่องสำอางค์
    • VOID - งานรับประกันสินค้า
    • TAG - งานโรงหนัง, เสื้อผ้า
    • FOIL - งานทรัพย์สิน, อุตสาหรรมเครื่องยนต์
     
    3 ประเภท หมึกริบบอน กับความแตกต่างที่ควรรู้!
    ความคิดเห็น (0) 3 ประเภท หมึกริบบอน กับความแตกต่างที่ควรรู้!
    ริบบอนบาร์โค้ด (Ribbon Barcode)หรือหมึกพิมพ์บาร์โค้ด ใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (Barcode Printer) ได้ทุกรุ่น ทุกขนาด แต่ในการพิมพ์ฉลากติดสินค้าที่มีบาร์โค้ดนั้น นอกจากจะเลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแล้ว ในการเลือกหมึกพิมพ์ หรือริบบอน นั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะคุณสมบัติของริบบอนแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม และขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความพอใจของลูกค้า
    เทคนิคการเลือกความละเอียดเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
    ความคิดเห็น (0) เทคนิคการเลือกความละเอียดเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone) แต่เนื่องจากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด มีความเร็วในการพิมพ์สูง และสามารถพิมพ์บาร์โค้ดออกได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับการพิมพ์บาร์โค้ดสำหรับติดลงวัตถุ หรือสินค้า จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
    เครื่องพิมพ์ลาเบล มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร?
    ความคิดเห็น (0) เครื่องพิมพ์ลาเบล มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร?

    บาร์โค้ด คืออะไร 

    • บาร์โค้ด (Barcode) เป็นรหัสแท่งประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง (มักเป็นสีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่าย ขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้น สำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม และสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ด เรียก ว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1987 โดยหลักการแล้ว บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงาน รวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของ อุตสาหกรรม การค้าขาย และการบริการ

     

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

    • เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด Barcode Printer หรือ Printer Barcode (ภาษาไทย : เครื่องพิมพ์ บาร์โค้ด) คืออะไร โดยส่วนใหญ่หน่วยงานต่างๆ จะใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเพื่อพิมพ์บาร์โค้ดใส่สติ๊กเกอร์เพื่อทำรหัส เพื่อความสะดวกต่อการเก็บข้อมูล Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (หรือ Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด) เป็นอุปกรณ์ที่ต้องต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์สำหรับการพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Sticker Barcode) ป้ายชื่อหรือแท็กที่สามารถใช้ติดกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าต่างๆ สินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ใช้ทั่วไปจะพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด หรือป้ายสติ๊กเกอร์ (แท็ก) หรือ พิมพ์ที่กล่องก่อนที่ทำการจัดส่งสินค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่สำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในการพิมพ์ จะแบ่งเป็น 2 ระบบ มีทั้งระบบ Thermal Transfer และ ระบบ Direct Thermal ดังต่อไปนี้ ระบบ Thermal Transfer ซึ่งเป็นระบบที่ต้องใช้ริบบอนบาร์โค้ดในการพิมพ์ คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า ริบบอนคืออะไร ริบบอน คือ หมึกที่เอาไว้ใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ดโดยจะผ่านระบบความร้อนของหัวพิมพ์ ซึ่งมีความละเอียดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

     

    ระบบของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

    เครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์ อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone) แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ Thermal Transfer และ Direct Thermal

    • ระบบพิมพ์ผ่านผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือ ระบบการพิมพ์ที่ต้องอาศัยผ้าหมึกในการพิมพ์ โดยตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์ เพื่อละลายหมึกบนผ้าหมึกให้ติดสื่อที่ต้องการ ซึ่งผ้าหมึก ที่เราใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เรียกว่า ริบบอน (Ribbon)
    • ระบบพิมพ์โดยตรง (Direct Thermal) คือ ระบบการพิมพ์โดยไม่ต้องใช้ริบบอน โดยตัวเครื่อง จะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์และสัมผัสกับตัวสื่อโดยตรง ระบบการพิมพ์โดยตรง จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน และไม่ทนต่อรอยขีดข่วน

    ประเภทของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

     

    Desktop Printer Mid-Rang Printer Industrial Printer

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดเล็ก

    พิมพ์ไม่เกิน 1,000 ดวง/วัน

    ความละเอียด 203 - 300 dpi

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดกลาง

    พิมพ์ไม่เกิน 3,000 ดวง/วัน

    ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดใหญ่

    พิมพ์ 4,000 - 10,000 ดวง/วัน

    ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi

    รองรับหน้ากว้างสูงสุด 8 นิ้ว


    สติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (Media Type)

    1. Continue คือสติ๊กเกอร์ที่เป็นลักษณะต่อเนื่อง
    2. GAP/NOTCH คือสติ๊กเกอร์ที่ถูกตัดออก เป็นดวงๆ หรือเป็นลักษณะเป็นรู เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูงของ สื่อแต่ละดวงได้
    3. Black Mark คือสติ๊กเกอร์ที่ทำเครื่องหมายสีดำ ไว้ด้านหลัง เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูง ของสื่อแต่ละดวงได้

     

    ริบบอนที่นำมาใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ด

    แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 ลักษณะขึ้นอยู่กับความทนทานและวัตถูประสงค์ในการใช้งานของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย

      1. Super Resin หรือ Ribbon Resin: หากผู้ใช้งานเลือกริบบอนกลุ่มนี้ จะไม่สามารถลอกหรือขูดบาร์โค้ดออกได้เลย เพราะมีความคงทนต่อการขีดข่วนมากที่สุด
      2. Ribbon wax resin: มีคุณสมบัติในการทนทานต่อการขีดข่วนได้ดี เหมาะกับงานพิมพ์บนกระดาษผิวมัน หรืองานที่ต้องเน้นเรื่องการยึดติดกับผิวบรรจุภัณฑ์ได้ดี เช่น งานสินค้าที่ต้องแช่แข็ง อุณหภูมิ 0 – 40 องศา
      3. Ribbon Wax : มีคุณสมบัติทนต่อการขีดข่วนได้ดีปานกลาง จึงใช้งานได้หลายรูปแบบและมักจะถูกนำไปใช้ในงานที่เน้นประหยัดต้นทุนและต้องการความรวดเร็ว

     

    ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี”
    ความคิดเห็น (0) ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี”
    ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี” สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภคหรือลูกค้าในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า คือความมั่นใจว่าสินค้านั้นมีคุณภาพจริงๆ และสิ่งที่จะทำให้เกิดความั่นใจได้ นั่นคือการได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ฉลากสินค้าจึงมีความสำคัญกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตโดยโรงงาน หรือนำเข้ามาจำหน่าย ถือเป็นสินค้าที่ต้องควบคุมฉลาก