เครื่องสำรองไฟ UPS
เครื่องสำรองไฟ
- แหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรอง – แบตเตอรี่ เพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้กรณีเกิดไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกชั่วขณะหนึ่ง โดย UPS จะสามารถจ่ายไฟฟ้าสำรองไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ
- เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC (Rectifier) หรือ เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger) จะทำการแปลงกระแสไฟฟ้า AC ที่รับจากระบบจ่ายไฟ เป็นกระแสไฟฟ้า DC และประจุไว้ในแบตเตอรี่
- เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า DC เป็น AC (Inverter) จะแปลงกระแสไฟฟ้า DC ที่รับจากแบตเตอรี่ เป็นกระแสไฟฟ้า AC เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์
คุณประโยชน์
- เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เมื่อเกิดไฟดับหรือไฟตก เพื่อให้มีเวลาสำหรับการ Save ข้อมูล และไม่ทำให้ hard disk เสีย
- เพื่อปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า เช่น ไฟตก, ไฟดับ, ไฟกระชาก และไฟเกิน เป็นต้น
- เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่สามารถสร้างความเสียหายต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
- เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า, อุปกรณ์ไอที และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูล (Save) ของแฟ้มข้อมูลที่เปิดอยู่
- ไม่ทำให้ข้อมูลและการทำงานของโปรแกรมผิดพลาด
- สามารถ Shutdown ระบบคอมพิวเตอร์ได้ตามขั้นตอน
Stabilizer หรือ Automatic Voltage Regulator (AVR) คือ เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า ให้มีความคงที่ เรียบนิ่งป้องกันปัญหาไฟฟ้า ตก-ไฟเกิน สำหรับสเตบิไลเซอร์ (Stabilizer) เป็นเครื่องป้องกันไฟตก-ไฟเกิน และปรับแรงดันกระแสไฟให้พอดี ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟเป็นไปด้วยความราบรื่น อุปกรณ์ต่อพ่วงจึงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และที่สำคัญเมื่อกระแสไฟมีความสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้อุปกรณ์นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งลดอัตราการเสียหายอันเกิดจากสภาพปัญหาเรื่องไฟฟ้าตลอดจนช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือให้ยาวนาน เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการทำงานอยู่ตลอดเวลา เช่นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ตู้สาขาโทรศัพท์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์, เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ได้อีกมากมายตามต้องการ
การเลือกขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ
- ทำรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อพ่วงกับเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า
- อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีป้ายแสดงค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) ซึ่งระบุถึงแรงดันไฟฟ้า (V) และกระแสไฟฟ้า (A) ที่ต้องการ หรืออุปกรณ์บางชนิดแสดงหน่วยวัตต์ (W) มาให้ โดยทั่วไปจะติดอยู่ที่หลังเครื่อง
- รวมค่าวัตต์ (W) ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อกับเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าทั้งหมด
- เลือกเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่มีวัตต์สูงกว่าวัตต์รวมของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด
- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 3KVA 2400w
- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 5KVA 4000w
- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 8KVA 6400w
- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 10KVA 8000w
- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 20KVA 16000w
- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 30KVA 24000w
ตัวอย่าง
- ต้องการคำนวณหาขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่สามารถใช้กับ แอร์ขนาด 9000btu พัดลม 60W หม้อหุงข้าว 1240W และหลอดไฟ 28W จำนวน 10 หลอด
แอร์ (9000x0.263) = 2,367w
พัดลม (60)x30% = 78W
หม้อหุงข้าว =1240w
หลอดไฟ 28x10 = 280w
W รวม = 2367+78+1240+280 = 3965w
ดังนั้น ขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าวได้อย่างปลอดภัยคือ 4000W ขึ้นไป หรือ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 8Kva 6400W
ไฟตกคือ โดยปกติคำว่า "ไฟตก" จะใช้กับแรงดันไฟ หรือที่เราเข้าใจกับคำว่า "ไฟ 220 โวล์ท" จริง ๆ แล้วไฟ 1 เฟส ทางการไฟฟ้าจะระบุว่าเป็นไฟ 230V ซึ่งทางการไฟฟ้าจะยอมระดับแรงดันตกจากปกติที่ไม่เกิน 5% หรือ 220V
ไฟตกเกิดจากสาเหตุ
- มีจำนวนบ้านในระแวกที่เพิ่มสูงขึ้น มีการแย่งกันใช้ไฟ
- ระยะทางไกลจากแหล่งจ่ายพลังงาน
- เกิดก่อนไฟจะดับ
- มีฝนตกหนัก
- มีการใช้พลังงานสูงในบ้าน เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เปิดแอร์ หรือ อุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์หมุนรอบสูง ปั๊มน้ำ
จุดสังเกตว่าบ้านเราไฟตก
- หลอดไฟไม่ค่อยติด หรือเปิดติดยาก หรือกระพริบถี่ ๆ
- หลอดไฟติดแต่สว่างน้อยลง
- ปั๊มน้ำไม่ทำงาน หรืออปกรณ์มอเตอร์หมุนรอบสูงไม่ทำงาน !! และต้องรีบปิดหรือดึงปลั๊กออกทันที เมื่อเจอแบบนี้ ไม่งั้นจะเสียหายและเสี่ยงไฟไหม้
- แอร์ไม่ทำงาน มีแต่ลมออก
การแก้ปัญหา
- ไฟตกระยะยาว : แจ้งการไฟฟ้าที่ดูแลบ้านท่าน
- ไฟตกระยะสั้น :ให้ใช้ เครื่องปรับกระแสไฟฟ้าแบบควบคุมอัตโนมัติ หรีอ สเตบิไลเซอร์ ป้องกันไฟตกไฟเกิน ในกรณีที่อุปกรณ์มีความสำคัญมาก และราคาแพง