ค้นหา
ไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ...ปิด
    RSS

    บทความ

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบบ พิมพ์โดยใช้ความร้อน กับ พิมพ์โดยใช้หมึก แตกต่างกันยังไง?
    ความคิดเห็น (0) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบบ พิมพ์โดยใช้ความร้อน กับ พิมพ์โดยใช้หมึก แตกต่างกันยังไง?

    Barcode printer สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท

    1. Direct Thermal   เป็นเครื่องพิมพ์ที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์
    2. Thermal Transfer เป็นเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้ตัวกลาง (Ribbon)ในการพิมพ์

    เทคโนโลยีทั้งสองแบบจะใช้หัวพิมพ์ชนิด Flat-Head ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดความร้อนบริเวณปลายของหัวพิมพ์ และโดยทั่วไปหัวพิมพ์จะมีความละเอียดที่ 200 dpi และ 300 dpi

    หมายเหตุ Direct Thermal จะใช้ในงานประเภทสินค้าบริโภค เช่น. อาหาร ผักผลไม้ ระบบThermal Transfer จะใช้กับงานที่ต้องการความคงทนและมีอายุการใช้งานนาน เช่น. เครื่องใช้ไฟฟ้าทรัพย์สิน, อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายด้าน Ribbon

     

    Direct Thermal เป็นเครื่องพิมพ์ที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์

             เทคโนโลยีการพิมพ์ลงบนกระดาษความร้อน โดยใช้หัวพิมพ์ซึ่งมีตัวกำเนิดความร้อนทำหนาที่ถ่ายเทความร้อนมาที่กระดาษทำ ให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมี และทำให้สีที่กระดาษเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสีที่เปลี่ยนนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษด้วย โดยปกติการพิมพ์แบบนี้จะใช้สำหรับชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานสั้นฯ เพราะกระดาษความร้อนจะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของแสง UV และความร้อน ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้

    • เป็นการสร้างภาพโดยให้ความร้อนบนกระดาษเคลือบสารเคมี บริเวณที่กระดาษถูกความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
    • ภาพ 2 สี สามารถสร้างได้โดยให้อุณหภูมิของแต่ละสีต่างกัน (โดยส่วนมากเป็นสีแดง)

    ส่วนประกอบของ Direct Thermal



    • ในการพิมพ์ กระดาษเคลือบผิวจะถูกใส่อยู่ระหว่างหัวพิมพ์และลูกกลิ้ง เครื่องพิมพ์ส่งกระแสไฟฟ้าไปที่ตัวตานทานกระแสไฟฟ้าของหัวพิมพ์และเกิดความร้อนกระตุ้นให้เกิดภาพบนกระดาษเคลือบสารเคมี
    • กระดาษเคลือบสารเคมีที่อยู่ในสถานะของแข็ง (สีย้อมและส่วนผสมของตัวกำเนิดภาพ) เมื่อหัวพิมพ์ได้รับความร้อนสารเคลือบจะตอบสนองเปลี่ยนเป็นภาพและเปลี่ยนกลับเป็นของแข็งอย่างรวดเร็ว
    • ตั้งแต่ปี 1990 fax ใช้เทคโนโลยีของ Thermal printers จนถึงศตวรรษที่ 21 มาถูกแทนที่ด้วย thermal wax transfer, laser, inkjet, และการพิมพ์บนกระดาษธรรมดา
    • ในช่วงแรกสารเคลือบที่ใช้บนกระดาษ thermal มีปัญหาในเรื่อง การถลอก การเสียดสี  (อาจเกิดความร้อนทำให้กระดาษดำ)  แสง (ทำให้ภาพจาง)
    • ภาพพิมพ์ไม่เหมาะกับการเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูง ไม่ควรเกิน70 องศาเซลเซียส
    • เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้นๆ เช่นการจัดส่งสินค้าภายในประเทศหรือติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ในร่ม

     

    Thermal Transfer เป็นเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้ตัวกลาง (Ribbon) ในการพิมพ์

           เทคโนโลยีการส่งผ่านความร้อนไปยังแผ่นฟิล์ม หมึก(Ribbon) และหมึกก็จะถ่ายทอดไปสู่พื้ผิวหรือกระดาษอีกทีหนึ่ง แผ่นฟิล์มริบบ้อน ที่ใช้นี้จะเป็นแผ่นบางฯ ซึ่งประกอบด้วย wax หรือ wax/resin จะทำหน้าที่เป็นหมึกเมื่อโดนความร้อนก็จะเปลี่ยนเป็นของเหลวและจะมาติดกับ ชิ้นงาน ไม่เหมือนกับ Direct transfer และจะไม่เกิดปฎิกิริยาทางเคมีเหมือนกระดาษความร้อน การพิมพ์โดยใช้ Thermal transfer ใช้กับประเภทสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, ทรัพย์สิน, อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายด้าน Ribbon

     

    • เป็นการสร้างภาพโดยความร้อนจากหัวพิมพ์ถ่ายโอนไปยังริบบอน วัสดุหรือหมึกบนริบบอนจะย้ายไปติดยังวัสดุพิมพ์
    ส่วนประกอบของ Thermal Transfer

     



    ชนิดของสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Barcode Sticker หรือ Label) แบบ Thermal Transfer 

    • POLY LASER - งานที่มีความร้อน
    • WHITE POLY - งานด้านอิเล็คทรอนิกส์, ทรัพย์สิน
    • BOPP - งานที่มีความเย็น
    • UPO - งานห้องเย็น
    • PP WHITE - งาน JEWELRY
    • LAMINATE - งานเครื่องสำอางค์
    • VOID - งานรับประกันสินค้า
    • TAG - งานโรงหนัง, เสื้อผ้า
    • FOIL - งานทรัพย์สิน, อุตสาหรรมเครื่องยนต์
     
    3 ประเภท หมึกริบบอน กับความแตกต่างที่ควรรู้!
    ความคิดเห็น (0) 3 ประเภท หมึกริบบอน กับความแตกต่างที่ควรรู้!
    ริบบอนบาร์โค้ด (Ribbon Barcode)หรือหมึกพิมพ์บาร์โค้ด ใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (Barcode Printer) ได้ทุกรุ่น ทุกขนาด แต่ในการพิมพ์ฉลากติดสินค้าที่มีบาร์โค้ดนั้น นอกจากจะเลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแล้ว ในการเลือกหมึกพิมพ์ หรือริบบอน นั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะคุณสมบัติของริบบอนแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม และขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความพอใจของลูกค้า
    เทคนิคการเลือกความละเอียดเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
    ความคิดเห็น (0) เทคนิคการเลือกความละเอียดเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone) แต่เนื่องจากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด มีความเร็วในการพิมพ์สูง และสามารถพิมพ์บาร์โค้ดออกได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับการพิมพ์บาร์โค้ดสำหรับติดลงวัตถุ หรือสินค้า จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
    เครื่องพิมพ์ลาเบล มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร?
    ความคิดเห็น (0) เครื่องพิมพ์ลาเบล มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร?

    บาร์โค้ด คืออะไร 

    • บาร์โค้ด (Barcode) เป็นรหัสแท่งประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง (มักเป็นสีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่าย ขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้น สำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม และสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ด เรียก ว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1987 โดยหลักการแล้ว บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงาน รวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของ อุตสาหกรรม การค้าขาย และการบริการ

     

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

    • เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด Barcode Printer หรือ Printer Barcode (ภาษาไทย : เครื่องพิมพ์ บาร์โค้ด) คืออะไร โดยส่วนใหญ่หน่วยงานต่างๆ จะใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเพื่อพิมพ์บาร์โค้ดใส่สติ๊กเกอร์เพื่อทำรหัส เพื่อความสะดวกต่อการเก็บข้อมูล Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (หรือ Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด) เป็นอุปกรณ์ที่ต้องต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์สำหรับการพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Sticker Barcode) ป้ายชื่อหรือแท็กที่สามารถใช้ติดกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าต่างๆ สินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ใช้ทั่วไปจะพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด หรือป้ายสติ๊กเกอร์ (แท็ก) หรือ พิมพ์ที่กล่องก่อนที่ทำการจัดส่งสินค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่สำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในการพิมพ์ จะแบ่งเป็น 2 ระบบ มีทั้งระบบ Thermal Transfer และ ระบบ Direct Thermal ดังต่อไปนี้ ระบบ Thermal Transfer ซึ่งเป็นระบบที่ต้องใช้ริบบอนบาร์โค้ดในการพิมพ์ คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า ริบบอนคืออะไร ริบบอน คือ หมึกที่เอาไว้ใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ดโดยจะผ่านระบบความร้อนของหัวพิมพ์ ซึ่งมีความละเอียดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

     

    ระบบของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

    เครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์ อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone) แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ Thermal Transfer และ Direct Thermal

    • ระบบพิมพ์ผ่านผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือ ระบบการพิมพ์ที่ต้องอาศัยผ้าหมึกในการพิมพ์ โดยตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์ เพื่อละลายหมึกบนผ้าหมึกให้ติดสื่อที่ต้องการ ซึ่งผ้าหมึก ที่เราใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เรียกว่า ริบบอน (Ribbon)
    • ระบบพิมพ์โดยตรง (Direct Thermal) คือ ระบบการพิมพ์โดยไม่ต้องใช้ริบบอน โดยตัวเครื่อง จะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์และสัมผัสกับตัวสื่อโดยตรง ระบบการพิมพ์โดยตรง จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน และไม่ทนต่อรอยขีดข่วน

    ประเภทของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

     

    Desktop Printer Mid-Rang Printer Industrial Printer

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดเล็ก

    พิมพ์ไม่เกิน 1,000 ดวง/วัน

    ความละเอียด 203 - 300 dpi

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดกลาง

    พิมพ์ไม่เกิน 3,000 ดวง/วัน

    ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi

    เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดใหญ่

    พิมพ์ 4,000 - 10,000 ดวง/วัน

    ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi

    รองรับหน้ากว้างสูงสุด 8 นิ้ว


    สติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (Media Type)

    1. Continue คือสติ๊กเกอร์ที่เป็นลักษณะต่อเนื่อง
    2. GAP/NOTCH คือสติ๊กเกอร์ที่ถูกตัดออก เป็นดวงๆ หรือเป็นลักษณะเป็นรู เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูงของ สื่อแต่ละดวงได้
    3. Black Mark คือสติ๊กเกอร์ที่ทำเครื่องหมายสีดำ ไว้ด้านหลัง เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูง ของสื่อแต่ละดวงได้

     

    ริบบอนที่นำมาใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ด

    แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 ลักษณะขึ้นอยู่กับความทนทานและวัตถูประสงค์ในการใช้งานของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย

      1. Super Resin หรือ Ribbon Resin: หากผู้ใช้งานเลือกริบบอนกลุ่มนี้ จะไม่สามารถลอกหรือขูดบาร์โค้ดออกได้เลย เพราะมีความคงทนต่อการขีดข่วนมากที่สุด
      2. Ribbon wax resin: มีคุณสมบัติในการทนทานต่อการขีดข่วนได้ดี เหมาะกับงานพิมพ์บนกระดาษผิวมัน หรืองานที่ต้องเน้นเรื่องการยึดติดกับผิวบรรจุภัณฑ์ได้ดี เช่น งานสินค้าที่ต้องแช่แข็ง อุณหภูมิ 0 – 40 องศา
      3. Ribbon Wax : มีคุณสมบัติทนต่อการขีดข่วนได้ดีปานกลาง จึงใช้งานได้หลายรูปแบบและมักจะถูกนำไปใช้ในงานที่เน้นประหยัดต้นทุนและต้องการความรวดเร็ว

     

    ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี”
    ความคิดเห็น (0) ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี”
    ฉลากสินค้าแบบไหนที่เรียกว่า “ดี” สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภคหรือลูกค้าในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า คือความมั่นใจว่าสินค้านั้นมีคุณภาพจริงๆ และสิ่งที่จะทำให้เกิดความั่นใจได้ นั่นคือการได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ฉลากสินค้าจึงมีความสำคัญกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตโดยโรงงาน หรือนำเข้ามาจำหน่าย ถือเป็นสินค้าที่ต้องควบคุมฉลาก
    กระดาษความร้อน กระดาษใบเสร็จ Thermal Paper Roll คืออะไร?
    ความคิดเห็น (0) กระดาษความร้อน กระดาษใบเสร็จ Thermal Paper Roll คืออะไร?
    กระดาษใบเสร็จความร้อน (Thermal Paper) กระดาษประเภทนี้นิยมใช้กันในอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร เป็นต้น ซึ่งมีหลายขนาดให้เลือก กระดาษความร้อน 57 mm, กระดาษใบเสร็จ 80x80, กระดาษความร้อน 80x55, กระดาษความร้อน 80x50, กระดาษความร้อน 57x80