ค้นหา
ไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ...ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    ระหว่าง RFID กับ Barcode แตกต่างกันอย่างไร?

    ระหว่าง RFID กับ Barcode แตกต่างกันอย่างไร?

    ในปัจจุบันเทคโนโลยี RFID และ Barcode เป็นที่นิยมทั้งคู่ ทำให้หลายคนสงสัยว่าจะเลือกแบบใดไปใช้งาน แบบไหน มีความคุ้มค่ามากกว่ากัน เทคโนโลยี RFID ถูกพัฒนาขึ้นมาที่หลัง Barcode ทำให้มีคุณสมบัติที่หลากหลายมากกว่า แต่ทุกวันนี้เราก็ยังเห็นการใช้บาร์โค้ดอยู่เป็นประจำ ทั้งตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกต่างๆ แล้วแบบนี้ ควรเลือกใช้แบบไหนดี? วันนี้เราจะมาดูถึงจุดเด่นของแต่ละแบบกันเลยว่ามีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร

    RFID คืออะไร

    Aucxis RFID hard tags

    • RFID ย่อมาจาก radio-frequency identification คือ การระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ผ่าน Tag ที่ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ Tag เหล่านี้สามารถบรรจุข้อมูลได้สูงสุด 8 KB โดยเทคโนโลยี RFID จะมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนแรก Tag หรือ Transponder ที่ใช้ติดกับวัตถุต่างๆ พร้อมบันทึกข้อมูลของวัตถุชิ้นนั้นไว้ และส่วนที่สอง Reader หรือ Interrogator เครื่องอ่าน/เขียนข้อมูลภายในแท็กด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

    ลักษณะการทำงานของ RFID ก็คือ เสาอากาศภายใน Tag จะรับ-ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไปยังเครื่องอ่าน Reader เพื่อทำการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงไปที่ Tag นอกจากนี้เสาอากาศที่อยู่ภายในยังทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้กับ Tag อีกด้วย

    ยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น ป้ายสินค้าที่ติดไว้ตามสินค้าต่างๆ เมื่อนำสินค้าออกนอกพื้นที่เครื่องอ่านก็จะดังขึ้นมา เพื่อป้องกันการขโมย หรือตั๋วเดินทาง MRT ที่เป็นเหรียญกลมสีดำ ที่ให้นำไปแตะบนเครื่องอ่าน เพื่อเดินเข้า-ออกสถานี

    จุดเด่นของ RFID 

    • ไม่มีจุดบอดในการอ่านข้อมูล
      • สามารถอ่าน Tag ได้ระยะไกลกว่าบาร์โค้ด อ่านข้อมูลได้โดยไม่ต้องให้ Tag อยู่ในแนวตรงเดียวเครื่องอ่าน นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องเห็น Tag ก็ยังอ่านข้อมูลได้ แค่ให้ Tag อยู่ในบริเวณที่คลื่นวิทยุรับ-ส่งไปถึงก็เพียงพอ
    • อ่าน/เขียนข้อมูลรวดเร็ว
      • RFID จะรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วและได้เป็นจำนวนมากในครั้งเดียว สามารถอ่านได้ในอัตราที่เร็วกว่าบาร์โค้ด สามารถอ่านแท็ก RFID ได้มากกว่าประมาณ 40 รายการในเวลาเดียวกัน
    • ความปลอดภัยสูง
      • เป็นอุปกรณ์อ่าน/เขียนข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง โดยข้อมูลจะถูกป้องกันด้วยการเข้ารหัสผ่านหรือตั้งให้มีการลบข้อมูลทิ้งทันทีเมื่อถูกคุกคาม
    • จัดเก็บข้อมูลได้เยอะ
      • Tag RFID สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด 8 KB เก็บข้อมูลได้เยอะและหลากหลาย ตั้งแต่ราคา สี วันที่ผลิต วันหมดอายุ วันที่จัดส่ง หรือข้อมูลการบำรุงรักษา
    • ราคาแพง
      • RFID จะมีราคาแพงกว่า Barcode เป็นอย่างมาก เพราะมีอุปกรณ์ภายในเครื่องมีขนาดเล็กและราคาแพง
    • ไม่เหมาะกับโลหะหรือของเหลว
      • RFID ไม่เหมาะกับโลหะและของเหลวบางชนิด ซึ่งโลหะจะไปรบกวนการทำงานของเสาอากาศ ทำให้รับ-ส่งสัญาณไม่ได้ และของเหลวยังส่งผลกระทบต่อการส่งสัญญาณ ทำให้เกิดความผิดเพี้ยน
    • เกิดการชนกันของ Tag ได้
      • การชนกันของแท็กสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีแท็กจำนวนมากในพื้นที่เดียวกันและต้องตอบสนองในเวลาเดียวกัน เมื่อสัญญาณสองสัญญาณจากตัวอ่านที่แตกต่างกัน ทับซ้อนกัน จนทำให้แท็กเกิดการไม่ตอบสนองหรือความแม่นยำลดลง

    Barcode คืออะไร

    Aucxis RFID labels
    • บาร์โค้ด หรือ เรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืด (สีดำ) และเส้นสว่าง (สีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วและช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก ปัจจุบันมีหลายรูปทรง เช่น Data Matrix หรือ QR Code

    จุดเด่นของ Barcode

    • ราคาถูก
      • ราคาถูกกว่าแท็ก RFID เนื่องจากบาร์โค้ดถูกพิมพ์ลงบนพลาสติกหรือวัสดุกระดาษได้โดยตรง ดังนั้นค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียวคือหมึก ที่มีราคาโดยรวมเพียงเล็กน้อย
    • ใช้งานง่าย
      • บาร์โค้ดมีขนาดเล็กและเบากว่าแท็ก RFID มากและง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังใช้งานได้กับวัสดุทุกประเภท เพราะบาร์โค้ดจะถูกพิมพ์ไว้บนกระดาษหรือวัสดุอื่นๆ ก็ได้
    • ใช้กันอย่างแพร่หลาย
      • เป็นเทคโนโลยีสากล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในผลิตภัณฑ์ค้าปลีก ร้านค้า เครื่องอ่านบาร์โค้ดนั้นสามารถประมวลผลบาร์โค้ดได้จากทุกที่ในโลก ไม่มีข้อจำกัด
    • มีความแม่นยำ
      • บาร์โค้ดจะทำงานด้วยความแม่นยำเท่ากันกับวัสดุต่างๆ ที่วางอยู่ บางครั้งความแม่นยำของบาร์โค้ดได้รับการกล่าวว่าดีกว่า RFID
    • ต้องใช้แรงงานคน
      • บาร์โค้ดจำเป็นต้องใช้บุคคลในการสแกนแต่ละรายการ เมื่อมีสินค้าจำนวนมาก ทำให้ใช้เวลานานและเปลืองแรงงาน
    • การสแกนมีจุดบอด
      • การอ่านบาร์โค้ดจะใช้แสงในการอ่านข้อมูล ดังนั้นต้องวางบาร์โค้ดให้ตรงกับเครื่องอ่าน ถ้าไม่ตรงแนว เครื่องก็จะไม่ทำงาน ทำให้เสียเวลาวางให้ตรงใหม่ หรือรหัสบาร์โค้ดได้รับความเสียหาย เช่น รหัสจางหรือยับ เครื่องก็อ่านไม่ได้
    • เก็บข้อมูลได้น้อย
      • บาร์โค้ดจะอ่านได้เฉพาะข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่สามารถอ่านข้อมูลอย่างเช่น วันที่ผลิต หรือวันหมดอายุได้

    ความคล้ายคลึงกันระหว่าง RFID และบาร์โค้ด

    • บาร์โค้ดและแท็ก RFID ช่วยให้คุณติดตามวัตถุได้อย่างง่ายดาย
    • ทั้งสองสามารถเก็บข้อมูลที่สามารถอ่านได้ง่าย
    • สามารถอ่านข้อมูลโดยใช้เครื่องสแกนทั้งแบบอยู่กับที่หรือแบบเคลื่อนที่
    • มีการใช้บาร์โค้ดและแท็ก RFID เป็นประจำเพื่อติดตามวัตถุผ่านข้อมูลร้านค้า
    • เทคโนโลยีทั้งสองช่วยให้สามารถใช้งานได้หลากหลายซึ่งเทคโนโลยีอื่นไม่สามารถตอบสนองได้

    ความแตกต่างระหว่าง RFID และบาร์โค้ด

    • บาร์โค้ดสามารถสแกนได้ครั้งละหนึ่งรายการเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก RFID ที่สามารถสแกนหลายแท็กพร้อมกันโดยใช้เครื่องสแกนเครื่องเดียว
    • บาร์โค้ดกำหนดให้เครื่องสแกนต้องมีแนวสายตาตรงกับรหัส โดยที่ RFID เป็นเทคโนโลยีระยะใกล้ ซึ่งช่วยให้เครื่องสแกนสามารถอ่านแท็กภายในระยะโดยไม่ต้องใช้ระยะสายตาโดยตรง
    • โดยทั่วไปแล้วบาร์โค้ดจะพิมพ์บนฉลากกาวหรือบนกระดาษ ส่งผลให้บาร์โค้ดสึกหรอและเสียหายได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการอ่าน อย่างไรก็ตาม แท็ก RFID มักจะถูกฝังอยู่ภายในฉลากพลาสติกหรือภายในตัววัตถุเอง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีความทนทานมากขึ้นซึ่งสามารถทนต่อความเสียหายได้มากกว่าบาร์โค้ด
    • บาร์โค้ดถูกจำกัดโดยประเภทและปริมาณของข้อมูลที่สามารถจัดเก็บได้ ในขณะที่ RFID อนุญาตให้จัดเก็บข้อมูลได้มากถึง 2,000 ไบต์ภายในแท็กเดียว
    จากการเปรียบเทียบทั้ง RFID และ Barcode มันขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานเสียมากกว่า เมื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าและค่าใช้จ่ายในการลงทุน ซึ่ง RFID อาจจะถูกพัฒนาให้มาทำงานในส่วนที่เป็นขีดจำกัดของ Barcode ทั้งการเก็บข้อมูล ความปลอดภัย และความรวดเร็ว แต่บางครั้งด้วยการใช้งานที่ง่าย ราคาถูก ทำให้บาร์โค้ดเป็นที่นิยมอยู่ เพราะมักจะเห็นมันบนสินค้าต่างๆ มากมายในชีวิตประจำวัน 
     
    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก factomart
    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ___ปิด
    *