ค้นหา
ไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ...ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    เลือกซื้อสติ๊กเกอร์ลาเบลยังไงดี?

    เลือกซื้อสติ๊กเกอร์ลาเบลยังไงดี?

    สติ๊กเกอร์เป็นสื่อทางการค้า ธุรกิจ และการตลาดที่สำคัญอย่างมากสื่อหนึ่ง เพราะการทำสติกเกอร์สื่อความหมายเกี่ยวกับองค์กร ผลิตภัณฑ์ สินค้า และทุกอย่างของธุรกิจนั้น ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ เข้าใจ และที่สำคัญสติ๊กเกอร์ที่ดีต้องมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ชักนำให้ผู้พบเห็นจดจำได้ง่าย สติก๊เกอร์จึงไม่ใช่สิ่งที่ติดไว้เพียงเล่น ๆ เท่านั้น การออกแบบที่ดีและลงตัวพร้อมผลิตออกมา จะทำสติ๊กเกอร์ทั้งที่ การเลือกใช้ประเภทสติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า เกรดสติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า ต้องให้เหมาะสมกับการใช้งาน

    สติํกเกอร์มีอยู่แทบกับทุกสิ่งของที่เราใช้ เช่น สติ๊กเกอร์ติดกล่องขนม ปากกา แก้วกาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ติดวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร พื้นผิวผนังต่าง ๆ ป้ายหน้าร้านต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นการทำสติ๊กเกอร์จึงไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงามแต่ยังรวมถึงเรื่องของชนิด ลักษณะ ประเภท และอายุการใช้งานของสติกเกอร์ฉลากสินค้าก็แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องตกลงกันเองกับร้านทำสติ๊กเกอร์ โดยขอยกตัวอย่างประเภทของสติกเกอร์แต่ละชนิดให้ได้รู้จักกัน ดังนี้

    • PET Sticker (Polyethylene terephalate) คือ สติ๊กเกอร์พีอีที เป็น สติกเกอร์เกรดดีมากมีความคงทนต่อความร้อนได้สูงถึง 200 องศา ทั้งยังสามารถเปียกน้ำได้อีก 100% มักนำไปใช้กับสินค้าที่ต้องทนอยู่กับความร้อนสูงนาน ๆ อย่างเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสติกเกอร์ที่ไม่ได้นำมาใช้งานทั่วไปมากนักเนื่องจากมีราคาที่แพง เหมาะกับติดผิวเรียบ เนื่องจากมีความตึงผิวสูงมาก ฉลากสติ๊กเกอร์ PET นั้น ที่นิยมสีฉลากที่เห็นจะมีลักษณะเป็นสีเงินด้าน งานพิมพ์บ่งชี้เป็นตัวอักษรข้อความลัญลักษณ์ต่าง ๆ

    • PVC Sticker (Polyvinylchloride : U)  คือ สติ๊กเกอร์พีวีซี เป็นที่นิยมสำหรับการใช้งานในสินค้าตามท้องตลาดทั่วไปที่ติดโล้โก้ต่าง ๆ บนสินค้า มีหลายลักษณะทั้งแบบขาวเงา ขาวนวล หรือใส และอีกมาก เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ลูกค้านิยมเลือกให้ ร้านทำสติกเกอร์ผลิตให้มากที่สุด เพราะราคาไม่แพงมากในขณะที่สามารถกันความร้อนได้ถึง 60-80 องศา และโดนน้ำได้อีกด้วย ร้านทำสติกเกอร์เนื้อพีวีซีเป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ต้องการงานคุณภาพ พิมพ์จำนวนน้อย ๆ เป็นแบบ ไม่ต้องเสียเงินไปกับค่าบล็อคและจำนวนขั้นต่ำที่มากเกินความต้องการ สติ๊กเกอร์ PVC นั้นจะมีความตึงผิวน้อยยืดหยุ่นได้ดีกว่าสติ๊กเกอร์อื่น ๆ เหมาะกับการติดใช้งานที่มีความโค้งของผิว มีควาทนทานกับสภาพการใช้งานภายนอก Ourdoor หรือสถานที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เหมาะกับสติ๊กเกอร์ที่มีดวงใหญ่กว่าฉลากสินค้าปกติ ใช้ติดรถ กระจก อาคารได้ดี

    • PP Sticker (Polypropylene) คือ สติ๊กเกอร์ พีพี เป็นเนื้อพลาสติกที่นิยมมาใช้สำหรับทำสติ๊กเกอร์ฉลากสินค้ากันน้ำราคาถูก ด้วยคุณสมบัติจึงเหมาะสมนำไปใช้กับงานที่ต้องการความคงทนของสติ๊กเกอร์สูง สามารถโดนน้ำได้ 100% และทนความร้อนได้ประมาณ 90 องศาเซลเซียส เช่น สติ๊กเกอร์ติดขวดแชมพู ครีมนวด สติ๊กเกอร์ติดขวดครีมทาหน้า เหมาะกับติดผิวเรียบ เนื่องจากมีความตึงผิวสูง เป็นต้น ซึ่งสติ้กเกอร์ พีพี มีความเรียบเนียนและสวยงามกว่าสติ๊กเกอร์ทั่วไป สามรถนำไปประยุกต์เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ต้องการพิมพ์จำนวนน้อย ๆ เป็นแบบ On Demand ได้ โดยมีผิวให้เลือกแบบ สติ๊กเกอร์พีพีใส สติ๊กเกอร์พีพีขาวเงา สติ๊กเกอร์พีพีขาวด้าน ได้ Effect ความสวยงามแตกต่างกันไป

    • Paper Sticker หรือสติกเกอร์กระดาษ เป็นอีกชนิดที่ร้านทำสติกเกอร์ได้รับทำบ่อย ๆ เพราะมีราคาถูกที่สุดในบรรดาสติ๊กเกอร์ทั้งหมด ผลิตได้ง่าย มีหลายแบบ เช่น แบบเงินเงา ขาวเงา ทองเงา ขาวด้าน เป็นต้น แต่สติกเกอร์ชนิดนี้ก็สามารถทนความร้อนได้ถึง 90 องศาเช่นกัน แต่จะโดนน้ำได้บ้างตามการเคลือบผิว กล่าวคือไม่เหมาะกับสินค้าที่ต้องเสี่ยงถูกน้ำ ทำสติกเกอร์ฉลาก แบบกระดาษเป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ต้องการพิมพ์จำนวนน้อย ๆ เป็นแบบ On Demand ไม่ต้องเสียเงินไปกับค่าบล็อคและจำนวนขั้นต่ำที่มากเกินความต้องการไปกับร้านทำสติกเกอร์แบบออฟเซต
    • อายุการใช้งานของสติกเกอร์.. . จริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่ชนิดของสติกเกอร์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับประเภทการพิมพ์ร่วมด้วย อย่างการพิมพ์อิงค์เจ็ท Indoor คือไม่เหมาะกับการโดนน้ำและทนร้อน อายุการใช้งานจะอยู่ที่ไม่เกิน 18 เดือน ทั้งนี้ก็ต้องระวังการเปียกน้ำด้วย ส่วนการพิมพ์อิงค์เจ็ท Outdoor หรือเหมาะที่จะโดนน้ำ ทนอุณหภูมิความร้อนได้ อายุการใช้งานมากกว่า 1 – 2 ปีขึ้นไป

    • อุณหภูมิของบริเวณที่จะนำสติ๊กเกอร์ไปใช้งานก็มีผลต่อการเลือกใช้ประเภทสติ๊กเกอร์เช่นกัน Service Temperature ของสติ๊กเกอร์และกาวของแต่ละตัวจะมีลักษณะเฉพาะแยกย่อยไปอีก ดังนั้นถ้าเราทราบช่วงอุณหภูมิก็จะช่วยให้เลือกใช้งานสติ๊กเกอร์ได้เหมาะสม อาทิ สติ๊กเกอร์ติดถังหรือท่อที่มีความร้อนสูง 70 - 90 องศาก็จะต้องเลือกใช้สติ๊กเกอร์ PET หรือ PVC คุณภาพสูง หรือ สติ๊กเกอร์ฉลากติดสินค้าแช่งแข็ง ห้องเย็นต่าง ๆ อาทิ -40 หรือ -18 องศา ก็อาจจะต้องดูเป็นสติ๊กเกอร์ PP Synthetic กาวสำหรับ Freezer เป็นต้น

    กระดาษสติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ คือ กระดาษสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด หรือ สติ๊กเกอร์ลาเบล (Barcode Sticker Label) เป็นสติ๊กเกอร์ ไดคัทเป็นสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ และเข้าม้วนเอาไว้กับแกนกระดาษเพื่อ ให้สะดวกต่อการเสียบเข้าแท่นกระดาษในเครื่องพิมพ์ มีเนื้อกระดาษและไซส์ที่หลากหลาย สามารถเลือกซื้อได้ด้วยวิธีนี้

    • เลือกซื้อกระดาษตามรูปแบบการพิมพ์

         สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก คือ กระดาษสติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ความร้อน (Direct Thermal) กับ กระดาษสติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ผ้าหมึก (Thermal Transfer) ส่วนใหญ่ผู้ขายจะระบุไว้เบื้องต้น ว่าสามารถใช้กับเครื่องพิมพ์แบบไหนได้ ความแตกต่างจะอยู่ที่การใช้งาน กระดาษสติ๊กเกอร์แบบ Thermal Transfer จะมีความคงทนสูง กว่ากระดาษสติ๊กเกอร์แบบ Direct Thermal แต่ก็แลกมากับการเปลี่ยนผ้าหมึก Ribbon ตลอดการใช้งาน

    • เลือกขนาดของเลเบล (Label Size)

         เลเบลสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด คือ ขนาดกระดาษสติ๊กเกอร์ตอนที่ใช้งาน นับเป็นจำนวนดวง หนึ่งม้วนมี 100 ดวงขึ้นไป มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กสำหรับพิมพ์แค่เฉพาะบาร์โค้ดสินค้า ไปจนถึงขนาดใหญ่สำหรับปะหน้าพัสดุ
         ดังนั้น ควรดูจากการใช้งานเป็นหลัก ว่าต้องการใส่ข้อมูลอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็ลองวางข้อมูลบนกระดาษขนาดต่างๆ และเลือกสติ๊กเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสม มองเห็นชัดเจนและอ่านง่ายที่สุด

    • เลือกขนาดที่เข้าได้กับเครื่องพิมพ์

         เมื่อเลือกขนาดเลเบลสติ๊กเกอร์ได้แล้ว จะทำให้เราเลือกขนาดม้วนสติ๊กเกอร์ได้ง่ายขึ้น โดยให้วัดหน้ากว้างสุดของม้วน เทียบกับเครื่องพิมพ์ที่ต้องการซื้อ ว่ารองรับความกว้างกระดาษได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดหลายรุ่นๆ จะกว้างตั้งแต่ 20 มม. ไปจนถึง 100 มม. ขึ้นไป

     

    เมื่อก่อนเครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ดมีราคาที่สูง จึงนิยมใช้แค่ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่  แต่เมื่อนานไปมีเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น หลากหลายธุรกิจจึงสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จึงคุ้มค่าที่จะลงทุนใช้งานกับธุรกิจเพราะสามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลายกระบวนการทำงาน เริ่มตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การจัดการสินค้าต่างๆ ไปจนถึงการขาย เหมาะกับหลายธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็ก ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ไปจนถึงร้านซื้อมาขายไป ยิ่งร้านของคุณมีสินค้าจำนวนมาก ยิ่งคุ้มค่า เพราะทำให้คุณประหยัดเวลาในการทำงาน มีความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้เยอะเลย

    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก octopus

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ___ปิด
    *